บทที่2
วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
แนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542ในมาตรา 42 ถือ ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วย สมอง
ด้วยกาย และด้วยใจ สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
เน้นการปฏิบัติจริง สามารถทำงานเป็นทีมได้(สมศักดิ์,
2543)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,2545) และตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กำหนดหลักการ ข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า“ส่ง เสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,
2545) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นี้ เองทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น
และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็เป็นประเด็นสำคัญ
ประเด็นหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
(วิภาภรณ์, 2543)
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ
ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ
สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง
เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา
ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง
ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม
ต้องการอย่างได้ผล(วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)
หลักการพื้นฐานของแนวคิด "ผู้เรียนเป็นสำคัญ" (ไพฑูรย์,
2549)การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้
ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง
ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็นแนวทางที่จะผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตนโดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป
คือ
1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือผู้สนับสนุน (supporter) และเป็นแหล่งความรู้(resource person) ของ
ผู้เรียน ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน
หรือเข้าไปมีส่วนร่วมใน
การเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้า
รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. เนื้อหา
วิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย
ได้แก่ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความต้องการของผู้เรียน
การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้สอน (เทคนิคการสอน)
3. การ
เรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน
หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ค้นพบข้อ
คำถามและคำตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ
ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น
รวมทั้งการบรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
4. สัมพันธภาพประกอบดีระหว่างผู้เรียน
การมีสัมพันธภาพประกอบดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงาม
การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทำงาน และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล
สัมพันธภาพประกอบเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของ
ผู้เรียน
5. ครู
คือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการ
เรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุ
อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด
คือความเต็มใจของครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข
ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝน
โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้
6. ผู้
เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป
ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุมตนเองได้มากขึ้น
สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม
และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น
7. การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ
ด้านพร้อมกันไปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ
ด้าน เช่น คุณลักษณะด้านความรู้ความคิด ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ
กันเมื่อรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีดีและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
ดังนั้น พวกเราครูมืออาชีพก็ควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง ผลที่ได้คือ
ผลิตผลที่ดีนักเรียนมีความรู้ ดี เก่งและมีสุข
ตามเจตนารมย์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (สิริพร, 2549)
ปัญหาหลักของกระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ
การที่ครูใช้วิธีการสอนแบบ “ปูพรม” โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนที่มีความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกัน
(สุมณฑา, 2544 : 27) การเรียนการสอนไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะ
“ มองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี ” แต่เน้นการท่องจำเพื่อสอบมากกว่าที่จะสอนให้
คิดเป็น วิเคราะห์ได้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีลักษณะผู้เรียนรู้ไม่เป็นปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นความล้มเหลวของการจัดการศึกษาที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน (จิราภรณ์, 2541)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิก
ที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน
จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้ รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
(คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543)
1.วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.1 วิธีการสอนแบบการแก้ปัญหา (Problem-Solving
Method)
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหามีความหมาย
คือ การสอนแบบแก้ปัญหาเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
ให้เรียนรู้ตามกระบวนการ โดยเริ่มตั้งแต่มีการกำหนดปัญหา วางแผนแก้ปัญหา
ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
ผู้สอนเป็นผู้เสนอปัญหาหรือผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันกำหนดปัญหาที่มีความสำคัญ
เป็นปัญหาใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่เคยประสบมาก่อน
และต้องไม่เกินทักษะทางเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้แก้ปัญหา
หรือหาคำตอบด้วยตนเอง ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา
ความรู้ ประสบการณ์ แรงจูงใจ อารมณ์
ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาจะไม่มีรูปแบบหรือขั้นตอนตายตัว
ผู้สอนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา
ผู้สอนจะต้องให้โอกาสผู้เรียนใช้ความคิดและฝึกการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความชำนาญ
จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี ในการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหานั้น
มีหลักการสำคัญ คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระทำกิจกรรมการเรียนรู้
จะเน้นทักษะการแสวงหาความรู้ การค้นพบ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
มีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นประชาธิปไตย
นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิธีสอนนี้
จอห์น
ดิวอี้ เป็นผู้คิดค้นขึ้นมาหลักใหญ่อาศัยวิธีการสอนที่ใช้แก้ปัญหาของนักเรียน
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น
วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทกประการคือ
-กำหนดขอบเขตของปัญหา
-ตั้งสมมติฐาน
-ทดลองและรวบรวมข้อมูล
-วิเคราะห์ข้อมูล
-สรุป
ประโยชน์ของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
1.การเสนอปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
2.ผู้เรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
มีการฝึกทักษะ การสังเกต วิเคราะห์ หาเหตุผลใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
3.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม
เป็นการฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย
4.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
ทำให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ตรง
ทำให้มีความกระจ่างชัดเจนจากประสบการณ์การเรียนรู้ นำทักษะที่ได้รับ เช่น
การเผชิญปัญหา การหาแนวทางในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ
เป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
ข้อจำกัดของการสอบแบบแก้ปัญหา
1.ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ค่อนข้างมาก
2.ปัญหาที่นำมาเสนอนั้นจะต้องน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและระดับสติปัญญาของผู้เรียน
3.ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูล
มิฉะนั้นจะได้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการสรุปและตัดสินใจ
4.ผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการช่วยแนะนำหรือแนะแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน
ขั้นตอนการสอน
วิธีสอบแบบแก้ปัญหาสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้
ดังนี้
1.ขั้นกำหนดปัญหา
ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา
ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ เช่น
ปัญหาที่มาจากความสนใจของผู้เรียนส่วนใหญ่ ปัญหาที่มาจากบทเรียน โดยผู้สอนกำหนดขึ้นมาเองโดยพิจารณาจากบทเรียน
เนื้อหาตอนใดเหมาะสมที่จะนำมาเป็นประเด็นในการตั้งปัญหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้
ปัญหาที่เกี่ยวกับสังคมเป็นปัญหาที่พบเห็นกันทั่วไปในสภาพแวดล้อมของตัวผู้เรียน
การหยิบยกมาเป็นปัญหาในการศึกษาย่อมจะเป็นสภาวะที่ทำให้ผู้เรียนเห็นว่ากำลังเผชิญกับปัญหาในชีวิตจริง
ปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน ได้แก่ ปัญหากฎหมาย ปัญหาชีวิต
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เมื่อกำหนดปัญหาแล้ว
ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจปัญหาที่พบในประเด็นต่างๆ เช่น
ปัญหาถามว่าอย่างไร มีข้อมูลใดแล้วบ้าง ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง
การฝึกให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้มีความเข้าใจปัญหามากขึ้น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในขั้นนี้ ผู้สอนอาจตั้งปัญหา
ตั้งคำถามให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย เช่น การใช้คำถาม, การเล่าประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ให้เกิดปัญหา, การให้ผู้เรียนคิดคำถามหรือปัญหาและการสาธิต เพื่อก่อให้เกิดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา
โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ปัญหาและคาดคะเนคำตอบ
พิจารณาแยกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย แล้วคิดอย่างเป็นระบบ
ผู้เรียนจะพยายามใช้ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์เดิมมาคิดแก้ปัญหา คาดคะเนคำตอบ
แล้วจึงหาทางพิสูจน์ว่าคำตอบที่คิดกันขึ้นมานั้นมีความถูกต้องอย่างไร แนวทางการคิดเพื่อตั้งสมมติฐาน
เช่น ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร
หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใด
3.ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่มีการวางแผน
หรือออกแบบวิธีการหาคำตอบจากสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้โดยศึกษาถึงสาเหตุที่เกิดปัญหาขึ้น
และใช้เหตุผลในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุ โดยหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ
วิธี แล้วใช้วิธีพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาวิธีที่ดีที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด
ในกรณีที่มีปัญหานั้นต้องตรวจสอบด้วยการทดลอง
ก็ต้องกำหนดวิธีทดลองหรือตรวจสอบเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่จะใช้ให้พร้อม
4.ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล
ขั้นการเก็บและรวบรวมข้อมูลนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะศึกค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ
เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ตำราเรียน การสังเกต การทดลอง การไปทัศนศึกษา
การสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ จากสถิติต่างๆ ในขั้นนี้ผู้เรียนจะใช้วิธีการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน
5.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
เมื่อได้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้ว
ผู้เรียนก็นำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือหรือไม่ประการใด
เพื่อนำข้อมูลนั้นๆ
ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
6.ขั้นสรุปผล
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgDJIBNb-tiH5ZepGt4n8NWVpRx9SBWArOlQX_9FeL_w784WZRCTCmUsmmgmJVBaIpTLCNVvG-Yz3EhMBsTXNhfN6aCRbbNkTXn8zHS9CS0GFflQUR2_98PjTKPMMytXLUoxS9RHqrplPk/s640/%25E0%25B8%25AA.png)
1.2 วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ความหมาย
ทิศนา แขม มณี (2550 : 358) กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้ เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกมา ตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความ รู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การ อภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ฃ
สุพิน บุญชูวงศ์ (2544 : 67) กล่าวว่าวิธีสอนที่ใช้บทบาทที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงมาเป็นเครื่อง มือในการสอนโดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้ แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น มีการนำการแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความ คิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาใช้เป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความ เข้าใจให้แก่นักเรียนในเรื่องความรู้สึกและพฤติกรรม และปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 160) อธิบายถึง วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนสร้าง สถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ ผู้เรียนคิดว่าควรจะเป็น ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความ คิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ แก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึก ซึ้ง และรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
บุญชม ศรี สะอาด (2541 : 161) กล่าวถึงการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่ สมมติขึ้น นั่นคือ แสดงบทบาทที่กำหนดให้
อินทิรา บุณยาทร (2542 : 98) อธิบาย การสอนด้วยบทบาทสมมติ หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาท สมมติขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น โดยแสดงออก ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
สรุปได้ว่า วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะเป็น
ความหมาย
ทิศนา แขม มณี (2550 : 358) กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้ เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกมา ตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความ รู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การ อภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ฃ
สุพิน บุญชูวงศ์ (2544 : 67) กล่าวว่าวิธีสอนที่ใช้บทบาทที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงมาเป็นเครื่อง มือในการสอนโดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้ แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น มีการนำการแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความ คิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาใช้เป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความ เข้าใจให้แก่นักเรียนในเรื่องความรู้สึกและพฤติกรรม และปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 160) อธิบายถึง วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนสร้าง สถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ ผู้เรียนคิดว่าควรจะเป็น ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความ คิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ แก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึก ซึ้ง และรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
บุญชม ศรี สะอาด (2541 : 161) กล่าวถึงการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่ สมมติขึ้น นั่นคือ แสดงบทบาทที่กำหนดให้
อินทิรา บุณยาทร (2542 : 98) อธิบาย การสอนด้วยบทบาทสมมติ หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาท สมมติขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น โดยแสดงออก ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
สรุปได้ว่า วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะเป็น
วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท
เป็นการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียนแสดงบทบาทตามสมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือแสดงออกมาตามแนวที่คิดว่าควรจะเป็น
เพื่อให้ผู้ดูแลเกิดความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
การแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้เกิดความสนใจ ฝึกความกล้าที่จะแสดงออก
เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตรึงเครียดของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติต่างจากเกมจำลองสถานการณ์ตรงที่ไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน จุดมุ่งหมายของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
ทิศนา แขมมณี (2550 : 358) กล่าวว่าวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง
ๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง
สุพิน บุญชูวงศ์ (2544 : 67) อธิบายถึงความมุ่งหมายของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
ดังนี้
1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก
3. เพื่อฝึกการแก้ปัญหา
1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก
3. เพื่อฝึกการแก้ปัญหา
สิริวรรณ ศรีพหล
และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 106) กล่าวถึงเป้าหมายการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติว่า
การแสดงบทบาทสมมติเป็นการนำเอาตัวอย่างพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา ซึ่งผลที่จะได้รับจากการศึกษาโดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้
1. ผู้เรียนได้มีโอกาสสำรวจความรู้สึกของบุคคลอื่น ๆ และเมื่อสำรวจแล้วก็จะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นในเชิงเจตคติ
2. ผู้เรียนได้มีโอกาสในการศึกษาความสัมพันธ์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม 3. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่ม ในบุคคล หรือระหว่างบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาค่านิยมในเรื่องความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
5. ผู้เรียนสามารถสำรวจเจตคติของตนเอง รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องโดยการเรียนรู้จากเจตคติของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง
1. ผู้เรียนได้มีโอกาสสำรวจความรู้สึกของบุคคลอื่น ๆ และเมื่อสำรวจแล้วก็จะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นในเชิงเจตคติ
2. ผู้เรียนได้มีโอกาสในการศึกษาความสัมพันธ์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม 3. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่ม ในบุคคล หรือระหว่างบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาค่านิยมในเรื่องความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
5. ผู้เรียนสามารถสำรวจเจตคติของตนเอง รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องโดยการเรียนรู้จากเจตคติของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 160) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแสดงบทบาทสมมติไว้ว่า
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน 5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน 5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
อินทิรา บุณยาทร (2542 : 98-99) อธิบายถึงความมุ่งหมายของการสอน
ดังนี้ 1.
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น 2.
เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถในการแก้ปัญหาและ การตัดสินใจ 3.
เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด 4.
เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะแสดงออก และ ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์ (2530
: 74-75) อธิบายถึงจุดมุ่งหมายในการใช้บทบาทสมมติ
ไว้ดังนี้
1.
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตคติ และความคิดต่าง ๆ ได้กว้างขวางขึ้น
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ของสังคมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3. เพื่อเตรียมผู้เรียนในการปฏิบัติเทคนิคบางอย่างในสถานการณ์จริง
4. เพื่อช่วยในการทดสอบสมมติฐานสำหรับการแก้ปัญหา
5. เพื่อฝึกความเป็นผู้นำและทักษะอื่น ๆ ทางสังคมให้แก่ผู้เรียน
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ของสังคมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3. เพื่อเตรียมผู้เรียนในการปฏิบัติเทคนิคบางอย่างในสถานการณ์จริง
4. เพื่อช่วยในการทดสอบสมมติฐานสำหรับการแก้ปัญหา
5. เพื่อฝึกความเป็นผู้นำและทักษะอื่น ๆ ทางสังคมให้แก่ผู้เรียน
สรุปได้ว่า
การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน
กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อมากยิ่งขึ้น
ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด ลักษณะสำคัญของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
ลักษณะของบทบาทสมมติ (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2550 : 160-161) บทบาทสมมติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงบทบาทสมมติแบบละคร เป็น การแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว ผู้แสดงจะได้ทราบเรื่องราวทั้ง หมด แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียด ผู้แสดงจะต้องแสดงออก ตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมี ลักษณะเหมือนละคร
2. การแสดงบทบาทสมมติแบบแก้ปัญหา เป็น การแสดงบทบาทสมมติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็ก น้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝง อยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี
บุญชม ศรีสะอาด (2541 : 161) กล่าวถึง การแสดงบทบาทสมมติว่า แตกต่างจากเกมจำลองสถานการณ์ตรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์และการแข่งขัน กล่าว คือ เป็นการสอนที่หยิบยกเอาเหตุการณ์ ประเด็นหรือปัญหาขึ้นมาให้ผู้เรียน ศึกษา โดยวิธีการให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจถึง ปัญหาในเหตุการณ์นั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจถึง ปัญหาในเหตุการณ์นั้น ๆ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยนั้น
สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข ( (2540 : 105) ได้กล่าวว่าการแสดงบทบาทสมมติจะส่งเสริมผู้เรียนให้แสดงพฤติกรรมหรือ บทบาทต่าง ๆ กันไปตามบทบาทที่กำหนดไว้ในเหตุการณ์ พฤติกรรมที่ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้แสดง บทบาทแสดงออกมานั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก อารมณ์ เจตคติของผู้แสดง ที่มีต่อบทบาทหรือพฤติกรรมที่ผู้แสดงสวมบทบาทนั้นอยู่ รวมทั้งเข้าใจถึง พฤติกรรมของผู้อื่นที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือปัญหานั้นด้วย
การที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนั้นไม่ ดี หรือบุคคลนั้นมีพฤติกรรมอย่างนั้น ทำไมไม่มีพฤติกรรมอย่างนี้ต่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งจะสอนโดยตรงไม่ได้ ผู้เรียนจะไม่เข้า ใจ แต่ถ้าใช้การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรม ของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หรือปัญหานั้นได้ดีและกระจ่างยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
เสริมศรี ลักษณศิริ (2540 : 260-261) กล่าวว่าการใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอน บทบาทสมมติเป็นเครื่อง มือและวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เรียน โดยที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาท สมมติขึ้น ให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น และถือเอาการ แสดงออกทั้งทางความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นข้ออภิปรายเพื่อการเรียน รู้
การแสดงบทบาทสมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบการณ์ จริงในสภาพของการสมมติขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ ได้
นอกจากนี้
จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ (2544 : 50-51) กล่าวถึงวิธีแสดงบทบาทสมมติทำได้ 3 วิธีคือ
1. การแสดงแบบละคร การแสดงแบบนี้ผู้แสดงจะต้องฝึกซ้อมก่อน เช่น อาจจะซ้อมท่าทาง ฝึกซ้อมบท พูด ตามบทบาทของตัวละครในเรื่องที่แสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องบท เรียน วรรณคดี หรือบทเรียนประวัติศาสตร์ก็ได้
2. การแสดงทันทีทันใจ การแสดงแบบนี้ ผู้แสดงไม่ต้องเตรียมตัวฝึกซ้อม แต่ เมื่อเรียนถึงเรื่องใดก็ให้นักเรียนแสดงได้ทันที เช่น แสดงเป็น ตำรวจ แสดงเป็นบุรุษไปรษณีย์ แสดงเป็นพ่อ เป็นลูก ฯลฯ โดยให้นักเรียน แสดงไปตามความนึกคิดของนักเรียนเองให้เหมาะสมกับบทบาทที่รับมา
3. การแสดงโดยครูหรือนักเรียนช่วยกันกำหนดเรื่องให้การแสดงแบบนี้ผู้แสดงจะต้อง แสดงไปตามเรื่องที่กำหนดแต่อาจจะแต่งเติมบทของตนเองเข้าไปบ้างก็ได้ตามความ เหมาะสม
จากประเภทของการสอนโดยใช้การแสดงละครที่กล่าวมาแล้ว นั้น จะเห็นได้ว่า นักวิชาการได้แบ่งประเภทของการสอนไว้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ผู้แสดงเป็นจะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความรู้ความรู้สึกส่วนตัว 2. ผู้แสดงจะต้องแสดบทบาทตามแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง
3. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะต้องเตรียมตัวก่อนการแสดงละคร
4. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงต้องแสดงบทบาทโดยทันที ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า องค์ประกอบของการสอนแบบบทบาทสมมติ
3. ฉากและสื่อการสอน ฉากมีเพียงที่จำเป็นเท่านั้น หรืออาจไม่ใช้เลยก็ ได้ ส่วนสื่อ การสอนก็เช่นกัน จำเป็นไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะความสำคัญ ของการเรียนการสอนด้วยการแสดงบทบาทสมมติขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้แสดงมากกว่า สิ่งใด ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
ทิศนา แขมมณี (2550 : 358-359) อธิบายขั้นตอนสำคัญของการสอนไว้ดังนี้
1. ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5. ผู้สอนและผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
6. ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. กำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้น ๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง
1.1 เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติ ให้แน่ชัดและเฉพาะเจาะจงว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอะไร บ้างจากการแสดง
1.2 เตรียมสถานการณ์สมมติ เพื่อให้ผู้ เรียนฟังโดยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การเตรียมสถานการณ์และ บทบาทสมมตินี้อาจเตรียมเขียนไว้อย่างละเอียดเพื่อมอบให้แก่ผู้เรียน หรือ เตรียมเฉพาะสถานการณ์เพื่อเล่าให้ผู้เรียนฟัง ส่วนรายละเอียดผู้เรียนต้อง คิดเอง
2. ขั้นดำเนินการสอน จัดแบ่งย่อยได้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นนำเข้าสู่การแสดงบทบาทสมมติ เป็น การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วม กิจกรรม โดยผู้สอนอาจใช้วิธีโยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน เล่า เรื่องราว หรือสถานการณ์สมมติ ชี้แจงประโยชน์ของการแสดงบทบาทสมมติ และ การร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา
2.2 เลือกผู้แสดง เมื่อผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมแล้วผู้สอนจะจัดตัว ผู้แสดงในบทบาทต่างๆ ในการเลือกตัวผู้แสดงนั้นอาจใช้วิธีดังนี้
1) เลือกอย่างเจาะจง เช่น เลือกผู้ที่มีปัญหาออกมาแสดง เขาได้รู้สึกในปัญหาและเห็นวิธีแก้ปัญหา
2) เลือกผู้ที่มีบุคลิกลักษณะคุณสมบัติ มีความสามารถเหมาะสมกับบทบาทที่กำหนดให้
3) เลือกผู้แสดงโดยให้อาสาสมัคร เพื่อให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียน การตัดสินใจ
2.3 การเตรียมความพร้อมของผู้แสดง เมื่อ เลือกผู้แสดงได้แล้ว ผู้สอนควรให้เวลา ผู้แสดงได้เตรียมตัวและตกลงกันก่อน การแสดง ผู้สอนควรช่วยให้กำลังใจ ช่วยขจัดความตื่นเต้นประหม่า และความวิตกกังวลต่าง ๆ เพื่อผู้แสดงได้แสดงอย่างเป็นธรรมชาติ
2.4 การจัดฉากการแสดง การจัดฉากการแสดงอาจ จะจัดแบบง่าย ๆ คำนึงถึงความประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร เช่น อาจสมมติโดยการเลื่อน โต๊ะเพียงตัวเดียว เพราะการจัดฉากนี้เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของการแสดง
2.5 การเตรียมผู้สังเกตการณ์ ในขณะที่ผู้ แสดงเตรียมตัว ผู้สอนควรได้ใช้เวลานั้นเตรียมผู้ชมด้วย โดยควรทำความเข้า ใจกับผู้ชมว่าควรสังเกตอะไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อ การวิเคราะห์ และอภิปรายในภายหลัง ผู้สอนอาจเตรียมหัวข้อการสังเกต หรือจัดทำแบบสังเกต การณ์เตรียมไว้ให้พร้อม แล้วเลือกผู้สังเกตการณ์ช่วยกันดู และบันทึก พฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อย ๆ ไป
2.6 การแสดง เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้วจึง เริ่มแสดง การแสดงนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้สอนและผู้ชมไม่ควร เข้าขัดกลางคัน นอกจากในกรณีที่ผู้แสดงต้องการ ความช่วยเหลือ ในขณะที่แสดงผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมของผู้แสดงและผู้ชมอย่างใกล้ชิด
2.ผังมโนทัศน์ (A
Concept map)
เทคนิคตระกูล K
ลักษณะของบทบาทสมมติ (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2550 : 160-161) บทบาทสมมติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงบทบาทสมมติแบบละคร เป็น การแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว ผู้แสดงจะได้ทราบเรื่องราวทั้ง หมด แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียด ผู้แสดงจะต้องแสดงออก ตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมี ลักษณะเหมือนละคร
2. การแสดงบทบาทสมมติแบบแก้ปัญหา เป็น การแสดงบทบาทสมมติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็ก น้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝง อยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี
บุญชม ศรีสะอาด (2541 : 161) กล่าวถึง การแสดงบทบาทสมมติว่า แตกต่างจากเกมจำลองสถานการณ์ตรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์และการแข่งขัน กล่าว คือ เป็นการสอนที่หยิบยกเอาเหตุการณ์ ประเด็นหรือปัญหาขึ้นมาให้ผู้เรียน ศึกษา โดยวิธีการให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจถึง ปัญหาในเหตุการณ์นั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจถึง ปัญหาในเหตุการณ์นั้น ๆ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยนั้น
สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข ( (2540 : 105) ได้กล่าวว่าการแสดงบทบาทสมมติจะส่งเสริมผู้เรียนให้แสดงพฤติกรรมหรือ บทบาทต่าง ๆ กันไปตามบทบาทที่กำหนดไว้ในเหตุการณ์ พฤติกรรมที่ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้แสดง บทบาทแสดงออกมานั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก อารมณ์ เจตคติของผู้แสดง ที่มีต่อบทบาทหรือพฤติกรรมที่ผู้แสดงสวมบทบาทนั้นอยู่ รวมทั้งเข้าใจถึง พฤติกรรมของผู้อื่นที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือปัญหานั้นด้วย
การที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนั้นไม่ ดี หรือบุคคลนั้นมีพฤติกรรมอย่างนั้น ทำไมไม่มีพฤติกรรมอย่างนี้ต่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งจะสอนโดยตรงไม่ได้ ผู้เรียนจะไม่เข้า ใจ แต่ถ้าใช้การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรม ของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หรือปัญหานั้นได้ดีและกระจ่างยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
เสริมศรี ลักษณศิริ (2540 : 260-261) กล่าวว่าการใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอน บทบาทสมมติเป็นเครื่อง มือและวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เรียน โดยที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาท สมมติขึ้น ให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น และถือเอาการ แสดงออกทั้งทางความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นข้ออภิปรายเพื่อการเรียน รู้
การแสดงบทบาทสมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบการณ์ จริงในสภาพของการสมมติขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ ได้
นอกจากนี้
จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ (2544 : 50-51) กล่าวถึงวิธีแสดงบทบาทสมมติทำได้ 3 วิธีคือ
1. การแสดงแบบละคร การแสดงแบบนี้ผู้แสดงจะต้องฝึกซ้อมก่อน เช่น อาจจะซ้อมท่าทาง ฝึกซ้อมบท พูด ตามบทบาทของตัวละครในเรื่องที่แสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องบท เรียน วรรณคดี หรือบทเรียนประวัติศาสตร์ก็ได้
2. การแสดงทันทีทันใจ การแสดงแบบนี้ ผู้แสดงไม่ต้องเตรียมตัวฝึกซ้อม แต่ เมื่อเรียนถึงเรื่องใดก็ให้นักเรียนแสดงได้ทันที เช่น แสดงเป็น ตำรวจ แสดงเป็นบุรุษไปรษณีย์ แสดงเป็นพ่อ เป็นลูก ฯลฯ โดยให้นักเรียน แสดงไปตามความนึกคิดของนักเรียนเองให้เหมาะสมกับบทบาทที่รับมา
3. การแสดงโดยครูหรือนักเรียนช่วยกันกำหนดเรื่องให้การแสดงแบบนี้ผู้แสดงจะต้อง แสดงไปตามเรื่องที่กำหนดแต่อาจจะแต่งเติมบทของตนเองเข้าไปบ้างก็ได้ตามความ เหมาะสม
จากประเภทของการสอนโดยใช้การแสดงละครที่กล่าวมาแล้ว นั้น จะเห็นได้ว่า นักวิชาการได้แบ่งประเภทของการสอนไว้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ผู้แสดงเป็นจะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความรู้ความรู้สึกส่วนตัว 2. ผู้แสดงจะต้องแสดบทบาทตามแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง
3. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะต้องเตรียมตัวก่อนการแสดงละคร
4. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงต้องแสดงบทบาทโดยทันที ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า องค์ประกอบของการสอนแบบบทบาทสมมติ
ทิศนา แขมมณี (2550 : 358) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ
ไว้ดังนี้ 1. มีผู้สอนและผู้เรียน 2. มีสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ 3. มีการแสดงบทบาทสมติ 4. มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออก ของ ผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ 5. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 :
106) กล่าวถึงองค์ประกอบของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ มีดังนี้
1. ผู้แสดงและผู้สังเกตการณ์ การแสดงบทบาทสมติ เมื่อนำมาปฏิบัติในห้องเรียน แล้วจะแยกกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้แสดงเป็นกลุ่มที่ ได้รับมอบหมายบทบาทจากครูผู้สอนแล้ว จากการวางแผน การเรียนการสอนของผู้ เรียนทั้งชั้นให้แสดงบทบาทต่าง
ๆ กัน กับกลุ่มผู้ชมซึ่งจะเป็นกลุ่มสังเกตการณ์ โดยจะนำผลจากการสังเกตไป อภิปรายภายหลัง 2. เหตุการณ์ ประเด็น หรือปัญหา ซึ่งอาจจะหยิบยกจากในแบบเรียน หรือผู้สอน สร้างขึ้นใหม่เองตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจาก
เหตุการณ์นั้น โดยทั่วไป ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดเหตุการณ์เอง และนำ เหตุการณ์นั้น
ๆ มาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อการแสดงต่อไป3. ฉากและสื่อการสอน ฉากมีเพียงที่จำเป็นเท่านั้น หรืออาจไม่ใช้เลยก็ ได้ ส่วนสื่อ การสอนก็เช่นกัน จำเป็นไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะความสำคัญ ของการเรียนการสอนด้วยการแสดงบทบาทสมมติขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้แสดงมากกว่า สิ่งใด ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
ทิศนา แขมมณี (2550 : 358-359) อธิบายขั้นตอนสำคัญของการสอนไว้ดังนี้
1. ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5. ผู้สอนและผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
6. ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
สุพิน บุญชูวงศ์ (2544 : 67) กล่าวถึงขั้นตอนในการสอนแบบบทบาทสมมติ
ไว้ดังนี้
1. เลือกปัญหาที่นักเรียนส่วนมากในชั้นเรียนพบบ่อย ๆ หรือเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก จดจำยาก สับสน กล่าวตามสภาพจริง หรือ ได้ก็ไม่เหมาะสม2. กำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้น ๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 161-163) อ้างใน
กรมวิชาการ (2527 : 37 – 40) ได้เสนอขั้นตอนที่สำคัญของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติมี 5 ขั้นตอน ในแต่ละขั้นตอนมีวิธีการสอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการสอน เป็นการเตรียมใน 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่1.1 เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติ ให้แน่ชัดและเฉพาะเจาะจงว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอะไร บ้างจากการแสดง
1.2 เตรียมสถานการณ์สมมติ เพื่อให้ผู้ เรียนฟังโดยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การเตรียมสถานการณ์และ บทบาทสมมตินี้อาจเตรียมเขียนไว้อย่างละเอียดเพื่อมอบให้แก่ผู้เรียน หรือ เตรียมเฉพาะสถานการณ์เพื่อเล่าให้ผู้เรียนฟัง ส่วนรายละเอียดผู้เรียนต้อง คิดเอง
2. ขั้นดำเนินการสอน จัดแบ่งย่อยได้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นนำเข้าสู่การแสดงบทบาทสมมติ เป็น การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วม กิจกรรม โดยผู้สอนอาจใช้วิธีโยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน เล่า เรื่องราว หรือสถานการณ์สมมติ ชี้แจงประโยชน์ของการแสดงบทบาทสมมติ และ การร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา
2.2 เลือกผู้แสดง เมื่อผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมแล้วผู้สอนจะจัดตัว ผู้แสดงในบทบาทต่างๆ ในการเลือกตัวผู้แสดงนั้นอาจใช้วิธีดังนี้
1) เลือกอย่างเจาะจง เช่น เลือกผู้ที่มีปัญหาออกมาแสดง เขาได้รู้สึกในปัญหาและเห็นวิธีแก้ปัญหา
2) เลือกผู้ที่มีบุคลิกลักษณะคุณสมบัติ มีความสามารถเหมาะสมกับบทบาทที่กำหนดให้
3) เลือกผู้แสดงโดยให้อาสาสมัคร เพื่อให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียน การตัดสินใจ
2.3 การเตรียมความพร้อมของผู้แสดง เมื่อ เลือกผู้แสดงได้แล้ว ผู้สอนควรให้เวลา ผู้แสดงได้เตรียมตัวและตกลงกันก่อน การแสดง ผู้สอนควรช่วยให้กำลังใจ ช่วยขจัดความตื่นเต้นประหม่า และความวิตกกังวลต่าง ๆ เพื่อผู้แสดงได้แสดงอย่างเป็นธรรมชาติ
2.4 การจัดฉากการแสดง การจัดฉากการแสดงอาจ จะจัดแบบง่าย ๆ คำนึงถึงความประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร เช่น อาจสมมติโดยการเลื่อน โต๊ะเพียงตัวเดียว เพราะการจัดฉากนี้เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของการแสดง
2.5 การเตรียมผู้สังเกตการณ์ ในขณะที่ผู้ แสดงเตรียมตัว ผู้สอนควรได้ใช้เวลานั้นเตรียมผู้ชมด้วย โดยควรทำความเข้า ใจกับผู้ชมว่าควรสังเกตอะไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อ การวิเคราะห์ และอภิปรายในภายหลัง ผู้สอนอาจเตรียมหัวข้อการสังเกต หรือจัดทำแบบสังเกต การณ์เตรียมไว้ให้พร้อม แล้วเลือกผู้สังเกตการณ์ช่วยกันดู และบันทึก พฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อย ๆ ไป
2.6 การแสดง เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้วจึง เริ่มแสดง การแสดงนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้สอนและผู้ชมไม่ควร เข้าขัดกลางคัน นอกจากในกรณีที่ผู้แสดงต้องการ ความช่วยเหลือ ในขณะที่แสดงผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมของผู้แสดงและผู้ชมอย่างใกล้ชิด
1.3
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา เป็นขั้นในการกระตุ้น
หรือเร้าความสนใจให้นักเรียนเกิดปัญหา อยากรู้อยากเห็นและอยาก ทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน
หน้าที่ของครูคือการแนะนำให้นักเรียนเห็นปัญหา
จัดสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหาโดยมีนวัตกรรมต่างๆ เป็นเครื่องช่วย
2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา ขั้นนี้ครูและนักเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหา
กำหนดขอบข่ายการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา ดังนี้
2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา
2.2 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบและทำงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 แนะนำให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มรู้จักแหล่งความรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้ประโยชน์
3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล เป็นขั้นการเรียนรู้ของนักเรียนเองโดยการกระทำจริงๆ
โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ในขั้นนี้ครูมีหน้าที่ ดังนี้
3.1 แนะนำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าใจปัญหา
รู้จักวิธีแก้ปัญหา และรู้จักแหล่ง ความรู้สำหรับแก้ปัญหา
3.2 แนะนำให้นักเรียนทำงานอย่างมีหลักการ
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล
เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดง
ผลงานของตน
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการ แก้ปัญหาดังกล่าวว่ามี
ผลดีผล เสียอย่างไร แล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน ข้อดีของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม
2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
4. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผลและมีการคิดอย่างเป็นระบบ
3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
ปัญหาที่นำมาใช้ต้องเป็นปัญหาที่เกิดจากนักเรียน
ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ครูกำหนด
2. ครูต้องยึดมั่นในบทบาทของตนในการทำหน้าที่ให้แนวทางในการคิดแก้ปัญหา
ไม่ใช่เป็นผู้ชี้นำความคิดของนักเรียน วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า
การทำงาน ของนักวิทยาศาสตร์
มีวิธีการทำงานอย่างมีระบบมีขั้นตอนได้วิวัฒนาการสืบทอดต่อกันมาตามลำดับจนได้ชื่อว่าเป็นวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งวิธีการทำงานดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ที่ทำให้การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ประสบผลสำเร็จ
และเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันนี้บุคคลต่าง ๆ ในสาขาอื่น ๆ
ก็ได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่า
สามารถนำไปใช้กับกระบวนการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมความรู้ทุกสาขาวิชา
ดังนั้นวิธีการดังกล่าวจึงไม่ควรเป็นวิธีการเฉพาะของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น
แต่ควรเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า “วิธีการทางวิทยาศาสตร์”
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method ) หมายถึง การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมี
กระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้
โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ของนักวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่
1.ขั้นกำหนดปัญหา
สำคัญที่ว่าการแก้ปัญหา
จะต้องคำนึงว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัญหาเกิดจากการสังเกต การสังเกตเป็น
คุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ การสังเกตอาจจะเริ่มจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
อาจจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต แม้แต่
อเลกซานเดอร์เฟลมมิง (Alexander
Fleming) ได้สังเกตเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในจานเพาะเชื้อ
พบว่าถ้ามีราเพนนิซิลเลียม (Penicillium notatum) อยู่ในจานเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียจะไม่เจริญดี ผลของการสังเกตของ
อเลกซานเดอร์ เฟลมมิง นำไปสู่ประโยชน์มหาศาลในวงการแพทย์
การสังเกตจึงเป็นขั้นแรกที่สำคัญนำไปสู่ข้อเท็จจริงบางประการ
และมีส่วนให้เกิดปัญหา การสังเกตจึงควรสังเกตอย่างรอบคอบ
ละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้น ในการตั้งปัญหาที่ดี ควรจะอยู่ในลักษณะที่น่าจะเป็นไปได้
สามารถ ตรวจสอบหาคำตอบได้ง่าย และยึดข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่รวบรวมมาได้
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
สมมติฐานมีคำตอบที่อาจเป็นไปได้
และคำตอบที่ยอมรับว่าถูกต้องเชื่อถือได้ เมื่อมีการพิสูจน์ หรือตรวจสอบ หลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
เป็นสมมติฐานที่เข้าใจได้ง่าย แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
ตรวจได้โดยการทดลอง เป็นสมมติฐานที่สอดคล้อง และอยู่ในขอบเขตของข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้
การตั้งสมมติฐานต้องยึดปัญหาเป็นหลักเสมอ ควรตั้งหลาย ๆ
สมมติฐานเพื่อมีแนวทางของคำตอบหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่ยึดสมมติฐานใด สมมติฐานหนึ่ง
เป็นคำตอบ ก่อนที่จะพิสูจน์ตรวจสอบสมมติฐานหลาย ๆ วิธี และหลายครั้ง ๆ
3.ขั้นตรวจสอบสมติฐาน
เมื่อตั้งสมมติฐานแล้ว
หรือคาดเดาคำตอบหลาย ๆ คำตอบไว้แล้ว กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นต่อไป คือ
ตรวจสอบสมมติฐาน ในการตรวจสอบสมมติฐานจะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นหลักเสมอ
เนื่องจากสมมติฐานที่ดี ได้แนะลู่ทางการตรวจสอบและการออกแบบการตรวจสอบไว้แล้ว
วิธีการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การสังเกต และรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ
ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อีกวิธีหนึ่ง โดยการทดลอง
ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด เพื่อทำการค้นคว้าหาข้อมูล
รวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบดูว่า สมมติฐานข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ในการตรวจสอบโดยการทดลองนั้น
ควรจะระบุกระบวนการทดลองที่จะปฏิบัติจริง ควรจะมีการวางแผนลำดับขั้นตอน
การทดลองก่อนหลัง ออกแบบการทดลองให้ได้ผลอย่างดี การใช้วัสดุอุปกรณ์ สารเคมี และเครื่องมือ มีการ ควบคุมดูแล
ระมัดระวัง ในการวิเคราะห์ข้อมูลควรจะวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปได้อย่างไรกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ผู้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทดลองจะต้องควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อ
การทดลอง เรียกว่า ตัวแปร (Variable) คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการทดลอง
ซึ่งควรจะมีตัวแปรน้อยที่สุด ตัวแปรแบ่งออก เป็น 3 ชนิด คือ
1) ตัวแปรต้น ( ตัวแปรอิสระ) (Independent
variable) คือ
ตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบและดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา
เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ
2) ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ
ตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระในตัวมันเอง
3) ตัวแปรควบคุม (Controlled variable) หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจากตัวแปรต้น
ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนแต่เราควบคุมให้คงที่ตลอดการทดลอง
เนื่องจากยังไม่ต้องการศึกษา ในการตรวจสอบสมมติฐาน
นอกจากจะควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการทดลอง จะต้องแบ่งชุดของการ
ทดลองเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม - กลุ่มทดลอง หมายถึง กลุ่มที่เราใช้ศึกษาผลของตัวแปรอิสระ - กลุ่มควบคุม หมายถึง ชุดของการทดลองที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง
เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จาก การทดลอง กลุ่มควบคุมจะแตกต่างจากกลุ่มทดลองเพียง 1 ตัวแปรเท่านั้น คือ ตัวแปรที่เราจะตรวจสอบ หรือตัวแปรอิสระ ในขั้นตอนนี้ จะต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง
แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมาย ซึ่งจะต้องมีการออกแบบการบันทึกข้อมูลให้อ่านเข้าใจง่ายอาจจะบันทึกในรูปตาราง
กราฟ แผนภูมิ หรือ แผนภาพ
4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มาทำการวิเคราะห์ผล
อธิบายความหมายของข้อเท็จจริง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อใด
5.ขั้นสรุปผล
เป็นขั้นสรุปผลที่ได้จากการทดลอง
การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองว่า
สมมติฐานข้อใดถูก
พร้อมทั้งสร้างทฤษฎีที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับอธิบายปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน
และนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น
1.4 วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ
(Buddist’s Method) ความหมาย
เดือน เทศวานิช (2530:87-88
) ได้กล่าวถึง การสอนแบบอริยสัจสี่ หมายถึง
การสอนที่พระพุทธเจ้าทรงคิดขึ้น เพื่อใช้เป็นคำสอนซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
และมีขั้นตอนคล้ายคลึงกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นต่างๆ
ของอริยสัจสี่
1. ทุกข์ คือ การเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นปัญญา ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์
การพิจารณาปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. สมุทัย คือ การหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือสาเหตุแห่งปัญหา
สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ถ้ากำจัดตัณหาได้ ทุกข์ก็คงจะหมดไป
เมื่อรู้ถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว ก็ลองกำหนดหลักการในการแก้ไขปัญหา เช่น
บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ทำสมาธิ เป็นต้น ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ “การตั้งสมมติฐาน”
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์ โดยดับที่สาเหตุแห่งทุกข์
ในขั้นนี้เป็นการลองทำตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา
จำผลการปฏิบัติไว้พิจารณา เมื่อเห็นว่า ทำทุกรกิริยา ไม่อาจพ้นทุกข์ได้
ก็ทำอย่างอื่นต่อไปได้อีก ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทาศาสตร์ที่ว่า “การรวบรวมข้อมูล”
4. มรรค คือ ทางแห่งดับทุกข์
เป็นวิถีทางในการแก้ไขปัญหาจาการทดลองแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ตามสมมุติฐานแล้ว
เช่น พบว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือการอดอาหารนั้นไม่ได้เป็นผลดับทุกข์
แต่การปฏิบัติตามแนวทางของมรรค 8 หรือมรรคมีองค์แปดนั้นเป็นการปฏิบัติให้พ้นทุกข์
คือ การเวียนว่ายตายเกิด สำหรับมรรค 8 นั้น ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่
มีส่วนตรงกันกับขั้นต่างๆ ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
คือต่างก็เป็นวิธีหาหนทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลนั่นเอง กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นนำ
1.1 ครูสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในพระรัตนตรัย
โดยให้นักเรียนสวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิก่อนการเรียนประมาณ 3 นาที
1.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระรัตนตรัย โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนรู้จักพระรัตนตรัยทางพระพุทธศาสนาหรือไม่ มีอะไรบ้าง
- นักเรียนเคยนำธรรมะทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร
- เมื่อนำธรรมะทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตแล้ว เกิดผลอย่างไร
1.3 นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องสรุป
1.4 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ขั้นสอน
2.1 ขั้นศึกษาปัญหา (ขั้นทุกข์)
1) แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน แบบคละความสามารถ และให้สมาชิกในกลุ่มนั่งหันหน้าเข้าหากัน
2) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.1 เรื่องคุณค่าของสังฆคุณ 9
3) ให้นักเรียนร่วมกันอ่านและอภิปรายภายในกลุ่ม ให้รู้ปัญหาของ เรื่องคุณค่าของ สังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
4) ครูแจกใบความรู้ที่ 1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับหลักธรรม จาก ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9
2.2 ขั้นแยกแยะสาเหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
5) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดหาสาเหตุของปัญหาจากสถานการณ์ในใบงานที่ 1.1 เรื่อง คุณค่าของสังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
6) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9 ไปแจกให้เพื่อนในกลุ่มให้ครบทุกคน ๆ ละ 1 ชุด แล้ว ช่วยกันศึกษา เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสังฆคุณ 9
7) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม จากสถานการณ์ในใบงานที่ 1.1 และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม
2.3 ขั้นการเลือกแนวทางปฏิบัติ (ขั้นนิโรธ)
1.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระรัตนตรัย โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนรู้จักพระรัตนตรัยทางพระพุทธศาสนาหรือไม่ มีอะไรบ้าง
- นักเรียนเคยนำธรรมะทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร
- เมื่อนำธรรมะทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตแล้ว เกิดผลอย่างไร
1.3 นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องสรุป
1.4 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ขั้นสอน
2.1 ขั้นศึกษาปัญหา (ขั้นทุกข์)
1) แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน แบบคละความสามารถ และให้สมาชิกในกลุ่มนั่งหันหน้าเข้าหากัน
2) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.1 เรื่องคุณค่าของสังฆคุณ 9
3) ให้นักเรียนร่วมกันอ่านและอภิปรายภายในกลุ่ม ให้รู้ปัญหาของ เรื่องคุณค่าของ สังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
4) ครูแจกใบความรู้ที่ 1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับหลักธรรม จาก ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9
2.2 ขั้นแยกแยะสาเหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
5) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดหาสาเหตุของปัญหาจากสถานการณ์ในใบงานที่ 1.1 เรื่อง คุณค่าของสังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
6) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9 ไปแจกให้เพื่อนในกลุ่มให้ครบทุกคน ๆ ละ 1 ชุด แล้ว ช่วยกันศึกษา เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสังฆคุณ 9
7) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม จากสถานการณ์ในใบงานที่ 1.1 และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม
2.3 ขั้นการเลือกแนวทางปฏิบัติ (ขั้นนิโรธ)
8)ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายว่า
มีแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่ชาลีได้อย่างไรบ้าง
พร้อมแสดงวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
9) ให้นักเรียนร่วมกันอ่านและอภิปรายภายในกลุ่ม ให้
วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.3
2.4 ขั้นสรุปแนวทางปฏิบัติ (ขั้นมรรค)
10) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของชาลีควรเป็นอย่างไร แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
11) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับ หลักสังฆคุณ 9 จากใบความรู้ที่ 1 เรื่อง คุณค่าของพระธรรมคุณ แล้วตอบคำปัญหาในใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9
12) แจกใบงานที่ 1.2 เรื่อง ความหมายของสังฆคุณ 9 ให้นักเรียนทำเป็นการบ้านส่งนอกเวลาเรียน
3. ขั้นสรุป
3.1 ให้ตัวแทนของนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานการทำกิจกรรมตามใบงานที่ 1.1 เรื่อง คุณค่าของสังฆคุณ 9 หน้าชั้นเรียน
3.2 ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป ให้ทราบถึงวิธีการแก้ปัญหา(การดับทุกข์) ตามวิธีการของพระพุทธเจ้า คืออริยสัจ 4เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
2.4 ขั้นสรุปแนวทางปฏิบัติ (ขั้นมรรค)
10) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของชาลีควรเป็นอย่างไร แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1
11) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับ หลักสังฆคุณ 9 จากใบความรู้ที่ 1 เรื่อง คุณค่าของพระธรรมคุณ แล้วตอบคำปัญหาในใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9
12) แจกใบงานที่ 1.2 เรื่อง ความหมายของสังฆคุณ 9 ให้นักเรียนทำเป็นการบ้านส่งนอกเวลาเรียน
3. ขั้นสรุป
3.1 ให้ตัวแทนของนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานการทำกิจกรรมตามใบงานที่ 1.1 เรื่อง คุณค่าของสังฆคุณ 9 หน้าชั้นเรียน
3.2 ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป ให้ทราบถึงวิธีการแก้ปัญหา(การดับทุกข์) ตามวิธีการของพระพุทธเจ้า คืออริยสัจ 4เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
สาโรช บัวศรี (2541:67) ได้กล่าววถึง การคิดแก้ปัญหา
อริยสัจ
เป็นผู้ริเริ่มความคิด
ในการนำหลักพุทธรรมมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา
โดยประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค มาใช้ควบคู่กับ “
กิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วย
ปริญญา ( การกำหนดรู้ ) ปหานะ (การละ ) สัจฉิกิริยา ( การทำให้แจ้ง )
และภาวนา ( การเจริญ หรือลงมือปฏิบัติ ) จากหลักการทั้งสอง ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช
บัวศรี ได้เสนอแนะกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนการสอน ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา ( ขั้นทุกข์ ) คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน ( ขั้นสมุทัย ) คือ
การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3.
และ เก็บข้อมูล ( ขั้นนิโรธ ) คือ
การกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ( ขั้นมรรค ) คือ
การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
การคิดเพื่อการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ
โกวิท วรพิพัฒน์ มีจุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหาแล้ว ย้อนพิจารณาไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้านตนเอง ชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวิชาการ
ต่อจากนั้น จึงลงมือกระทำการ หากการกระทำสามารถทำให้ปัญหาและความไม่พอใจของบุคคลหายไป
กระบวนการคิดจะยุติลงแต่หากบุคลคลยังไม่พอใจและปัญหายังคงอยู่
บุคคลจะเริ่มกระบวนการรคิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง สรุป
การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการทางการคิดที่สำคัญกระบวนการหนึ่งและเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
ถ้าทุกคนได้รับการฝึกให้รู้วิธีการคิดแก้ปัญหาอยู่เสมอย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ได้รับการฝึกฝน
บุคคลที่ประสบกับปัญหาต่าง ๆ แล้ว สามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหานั้นให้สำเร็จลุล่วงได้
ย่อมประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ยังอาจนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
ความสามารถในการคิดที่ต้องอาศัยกระบวนการทางสติปัญญา ความคิดและประสบการณ์เดิมของบุคคลมาประกอบกัน เพื่อแก้ปัญหาที่ประสบขึ้นในชีวิตประจำวัน
โดยมีแบบพฤติกรรมหรือวิธีการในการแก้ปัญหาอย่างมีลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ปัญหาต่าง
ๆ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
5. วิธีการสอนแบบการทดลอง (The Laboratory Method)
วิธีการสอนแบบทดลองมีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์
แต่มีการปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับวิชาการเรียนอื่นๆ เช่น
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
วิธีการสอนแบบทดลอง
แสดงข้อเท็จจริงจากการสืบสวน ค้นคว้า ทดลอง
วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างกับวิธีการสอนแบบสาธิตด้วย
เพราะการสอแบบสาธิตเป็นผู้ทดลองให้นักเรียนดูส่วนการสอนแบบทดลอง
นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ความหมาย
วิธีการสอนแบบทดลอง หมายถึง วิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ
ศึกษา ค้นคว้าด้วยการทดลองเพื่อพิสูจน์หลักการ ทฤษฎีที่ผู้อื่นได้ค้นพบไว้
วิธีสอนแบบนี้มักใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ เช่นทดลองการเกิดเงา
ทดลองการเพาะพืชด้วยเมล็ด ทดลองการสะท้อนของแสงทดลองว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง ฯลฯ
เป็นต้น ความมุ่งหมาย
1.เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง
ค้นคว้าด้วยตนเอง
2.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์ต่างๆ และใช้ได้อย่างถูกต้อง
เป็นแนวทางในการปฏิบัติทดลองค้นคว้าคิดค้นสิ่งใหม่ต่อไป
3.เพื่อฝึกการปฏิบัติงานทดลองค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบขั้นตอนรอบคอบ
4.เพื่อฝึกการสังเกต
วิเคราะห์ สรุปผล และรายงานตามความเป็นจริงที่ค้นพบ ขั้นตอนการสอน
1.ขั้นเตรียมการทดลอง
1.1
กำหนดจุดประสงค์ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือแผนการสอน
แล้วตั้งจุดประสงค์การสอนให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมแต่ละ
ด้านอย่างไรบ้างจากการเรียนด้วยการลงมือทดลองปฏิบัติ
1.2
วางแผนการทดลอง
ขั้นนี้ผู้สอนต้องลำดับขั้นตอนการสอนและเตรียมกำหนดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าว่าจะ
เข้าสู่บทเรียนอย่างไร ผู้เรียนจะต้องทดลองตามลำดับขั้นตอนอย่างไรบ้าง
สรุปผลการทดลองและเสนอผลตอนใด อย่างไร หรือโดยวิธีใด เป็นต้น
1.3
จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ แบบบันทึกผลการทดลอง และแบบประเมินผล
ผู้สอนต้องเตรียมให้พร้อม ให้มีจำนวนมากพอกับจำนวนนักเรียนและอยู่ในสภาพที่ใช้ได้
1.4ตรวจ
สอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือวัสดุที่ใช้
ผู้สอนควรได้ทดลองใช้เครื่องมือก่อนสอน เพื่อให้เห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า
และเพื่อประโยชน์ในการแนะนำ ตักเตือนผู้เรียนขณะทดลอง
1.5
เตรียมแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้สอนต้องกำหนดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม
ไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่มาก เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้วิธีทดลองอย่างทั่วถึง
การแบ่งกลุ่มผู้เรียนนี้ต้องสอดคล้องกับจำนวนวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีอยู่
2.ขั้นทดลอง
2.1ขั้น
นำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเร้าความสนใจผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การทดลองขั้นตอน
วิธีการทดลอง แนะนำการใช้เครื่อง วัสดุอุปกรณ์
ให้ผู้เรียนได้ทราบบทบาทของตนและให้ศึกษาคู่มือปฏิบัติการก่อนการทดลอง
2.2ขั้น
ทดลอง ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการทดลองให้มีผู้สอนคอยดูแลแนะนำช่วยเหลือ
ถ้าเป็นการทดลองที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ผู้สอนต้องคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
3.ขั้นเสนอผลการทดลอง
ผู้เรียนนำเสนอผลการทดลอง
และรายละเอียดประกอบ เช่น โครงการทดลอง การเตรียมการ วิธีทดลอง
และผลที่ได้จากการทดลอง
4.ขั้นอภิปรายสรุปผล
ใน
ขั้นนี้ผู้เรียนจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนได้รับ
เช่นบางกลุ่มอาจได้ผลการทดลองที่คาดเคลื่อนก็จะได้ช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุ ว่าผิดพลาดที่ขั้นตอนใด
และมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร
ในขั้นนี้ผู้สอนจะมีบทบาทในการให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมย้ำประเด็นสำคัญ
และสรุปหลักการ ความคิดรวบยอดที่ได้จากการทดลอง
5.ขั้นประเมินผล
เมื่อ
การอภิปรายผลสิ้นสุดลงผู้สอนควรได้ประเมินผลผู้เรียนในด้านต่าง ๆ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อปรับปรุงแก้ไขในการทดลองที่จะมีขึ้นในครั้งต่อ
ไป เช่น ประเมินด้านการใช้เครื่องมือ ด้านความละเอียดรอบคอบในการทดลอง
ด้านการจดบันทึกผลการทดลอง ด้านการรายงานผล ด้านการให้ความร่วมมือกับกลุ่ม เป็นต้น ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบทดลอง
ข้อดี
1.ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ขณะลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง
2.ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการในการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
3.เรียนมีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
4.ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพเช่นการสังเกต
การฝึกปฏิบัติการค้นคว้าหาข้อมูล เป็นต้น
5.ผู้เรียนสามารถนำผลการทดลองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาขั้นต่อไปและ
ในชีวิตจริง
6.ผู้เรียนเกิดความสนุกและตื่นเต้นกับการทดลอง
ทำให้บทเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น
ข้อจำกัด
1.
ในการดำเนินการทดลอง ถ้าทำผิดขั้นตอนอาจเกิดอันตรายได้
2.
อาจเสียเวลาในการเรียนการสอนมากเพื่อรอผลการทดลอง
3.
การสอนแบบทดลองบางครั้งต้องใช้ทรัพยากรมากทำให้การลงทุนสูง
ซึ่งอาจไม่ได้ผลคุ้มค่ากับการที่ลงทุนไป
4.
ในบางครั้งถ้าการทดลองโดยกลุ่ม
อาจมีผู้เรียนหรือสมาชิกของกลุ่มหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงาน ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร
1.6 วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
วิธีการสอนแบบอภิปราย
เป็นการสอนแบบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน
หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน
ครูไม่ต้องซักถามปัญหานักเรียน แต่ให้นักเรียนซักถามปัญหาแลช่วยกันตอบ
อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูดและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย ความหมาย
คือกระบวนการที่ผู้สอนมุ้งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน
โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน วัตถุประสงค์
1.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน
และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง 2.เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม 3.เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล
ข้อเท็จจริงมาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ องค์ประกอบ 1.เรื่องหัวข้อประเด็นปัญหาที่จะอภิปราย 2.ผู้อภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย 3.กระบวนการอภิปราย 4.ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการอภิปราย ประเภทของการอภิปราย การอภิปรายมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบอาทิเช่น - การอภิปรายเป็นคณะ - การอภิปรายแบบฟอร์ม - การอภิปรายแบบสัมมนา - การอภิปรายแบบระดมสมอง - การอภิปรายแบบโต๊ะกลม - การอภิปรายแบบโต้วาที ขั้นตอนการเรียนรู้ 1.ขั้นตอนการอภิปราย - กำหนดหัวข้อ วัตถุประสงค์ รูปแบบอภิปราย - ผู้สอนควรกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน - สื่อการเรียน อาจจะเป็นเอกสารหรือวัสดุต่างๆที่จำเป็น - สถานที่ อาจจะเป็นห้องเรียนซึ่งผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย 2.ขั้นบรรยาย - บอกหัวข้อหรือปัญหาและวัตถุประสงค์ - บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์ - ดำเนินการอภิปราย 3.ขั้นสรุป สรุปผลการอภิปราย
ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปรายแล้วนำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม 4.ขั้นสรุปบทเรียน ผู้สอนและผู้รีเยนร่วมกันสรุปสาระสำคัญและแนวคิดที่ได้จาการอภิปราย 5.ขั้นประเมินผลการเรียน ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้ ข้อดี 1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ 3.ผู้เรียนไม่เบื่อ เพราะมีการปฏิบัติตลอดเวลาเรียน ข้อจำกัด 1.ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง 2.ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น 3.ผู้สอนอาจเกิดความขับข้องใจ
ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ผู้สอนปรารถนา
1.7 วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)
วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมการศึกษา
เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม
โดยสอนในห้องเรียนแบบง่ายๆกับนักเยน 5-6
คน ใช้เวลา 5-15 นาที
เปิดโอกาสให้ครูได้ฝึกทักษะการสอนให้ดีขึ้นก่อนนำไปใช้จริงในชั้นเรียน
การสอนวิธีนี้จึงเป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงานและทักษะ ความหมาย
วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method) เป็นวิธีสอนที่ยึดหลักการย่อส่วนทั้งขนาดของชั้นเรียน
ระยะเวลาที่สอนและชนิดของทักษะ วิธีสอนแบบจุลภาคใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ในการฝึกทักษะแต่ละชนิด
เมื่อสอนเสร็จมีการวิเคราะห์และประเมินผลการสอนจากภาพและเสียงบันทึกไว้ใน Video
Tape และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการสอน การสอนแบบจุลภาคจึงเป็นการฝึกทักษะการสอนในสถานการณ์ย่อส่วนจากสถานการณ์จริงๆ
เพื่อง่ายแก่การฝึกภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ฝึกได้มีโอกาสตรวจสอบและปรังปรุงการสอนของตน ลักษณะการสอนแบบจุลภาคที่สำคัญ มีดังนี้
1. เป็นสถานการณ์จริงในสถานการณ์จำลอง
2.เป็นการลดความซับซ้อนของการสอนตามชั้นเรียนปกติ
ได้แก่ ลดขนาดของห้องเรียน ลด ขอบเขตของเนื้อหาวิชา และลดเวลา
3. เป็นการฝึกทักษะเฉพาะอย่าง เช่น
ทักษะการอภิปราย การแก้ปัญหา และการสาธิต ฯลฯ
4. ได้ทราบผลการประเมินประสิทธิภาพการสอนและนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา ความสำคัญ
การฝึกหัดสอนในสถานการณ์จริงๆที่มีทั้งครูและนักเรียนโดยผู้สอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่จะฝึกฝนทักษะในการสอน
เพียงทักษะใดทักษะหนึ่งเท่านั้น การสอนแบบจุลภาคเหมาะที่จะใช้ฝึกสำหรับนักเรียนฝึกหัดครู
ครูใหม่หรือครูเก่าให้มีโอกาสฝึกทักษะในการสอนโดยใช้บทเรียนสั้นๆ ที่ใช้เวลาเพียง ๕ - ๑๐ นาที เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการสอน ความสบายใจ
เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆตลอดจน เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนให้กับครูที่ฝึก
ซึ่งเมื่อได้ออกไปทำการสอนจริงๆ ในชีวิตการเป็นครู
จะสอนได้ดีและเป็นครูชั้นอาชีพจริงๆ แนวปฏิบัติในการสอนแบบจุลภาค
๑. จัดให้มีการอธิบายเกี่ยวกับทักษะ
ตลอดจนวิธีใช้ทักษะให้ผู้สอนมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
๒. ให้ผู้สอนได้เห็นตัวอย่างการสอน ทักษะต่างๆ
และฝึกการมองประเด็นสำคัญของแต่ละทักษะ
๓. เตรียมบทเรียนที่จะสอน
โดยอาศัยจากบทเรียนหรือจะใช้สถานการณ์จำลอง
เพื่อสร้างสภาพการณ์จำลองให้ผู้สอนเลือกหาวิธีสอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการสอน
๔. ผู้สอนทำการสอนแต่ละทักษะตามหลักการดังต่อไปนี้
๔.๑ ฝึกสอนแต่ละทักษะ ประมาณ ๕ - ๑๐ นาที
๔.๒ ผู้สอนดูภาพหรือฟังเทปบันทึกการสอน
พร้อมกับนักเรียนและอาจารย์นิเทศ
๔.๓ สรุปการสอนของตนและรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อหาลู่ทางปรับปรุงการสอนอีกครั้ง
๔.๔ ใช้เวลาประมาณ ๑๕ - ๒๐ นาที เพื่อปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมสอนซ้ำอีกครั้ง
๔.๕ สอนซ้ำในทักษะเดียวกันตามข้อเสนอแนะ
๔.๖ ดูภาพและหรือฟังเทปบันทึกการสอนของตนร่วมกับนักเรียน
อาจารย์นิเทศและร่วมกันอภิปราย สรุปการสอน วิธีการฝึกสอนแบบจุลภาค
1.ศึกษาทักษะการสอน
2. ทดลองลองสอนและบันทึกเทปโทรทัศน์
3. เรียนรู้ผลการสอนของตนและวิจารณ์
4. สอนซ้ำแก่นักเรียนกลุ่มใหม่ หลักของการประเมินผล
การประเมินผลต้องควรคำนึงถึงหลักสำคัญดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลต้องตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
2.การประเมินผลต้องวางแผนร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การใช้สื่อการสอน ตลอดจนการจัดโปรแกรมต่างๆ
3.การประเมินผลควรจะเป็นการประเมินผลร่วมเนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนต้องมีส่วนร่วมในการวางจุดประสงค์
เพราะฉะนั้นทั้งผู้เรียนและผู้สอนควรจะประเมินผลร่วมกัน
4. การประเมินผลควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
การที่จะใช้เครื่องมือชนิดใดเช่นข้อสอบแบบข้อเขียน
ข้อสอบภาคปฏิบัติหรือการสังเกตเป็นต้น ย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่จะประเมิน
5. การประเมินผลต้องดำเนินการอย่างยุติธรรมและเชื่อถือได้ วิธีการประเมินผล
1. พิจารณาจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ว่า
แต่ละจุดประสงค์ระบุถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านใด
โดยพยายามจำแนกจุดประสงค์เหล่านั้นออกเป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ 3 ด้านคือ
1.1 ด้านพุทธิพิสัย เป็นจุดประสงค์ที่ระบุถึงความสามารถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของเนื้อหาในรูปของความจำ
ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
1.2 ด้านจิตพิสัย เป็นจุดประสงค์ที่ระบุถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับความสนใจ
กิจนิสัย ความพึงพอใจ การเห็นคุณค่าในเนื้อหา วิธีการข้อปฏิบัติต่าง ๆ
1.3 ด้านทักษะพิสัย เป็นจุดประสงค์ที่ระบุถึงการปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
นิเทศศาสตร์ ฯ
2.เลือกเครื่องมือที่จะใช้วัดผลเพื่อนำผลที่ได้ไปประเมินโดยพิจารณาจากพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการประเมินการวัดพฤติกรรมแต่ละด้านควรใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้
2.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ใช้ข้อสอบข้อเขียน
2.2 พฤติกรรมด้านจิตพิสัย ใช้ข้อสังเกต
2.3 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ใช้ข้อสอบภาคปฏิบัติ
3. ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่จะใช้ให้สามารถวัดพฤติกรรมด้านต่าง
ๆ ที่ต้องการจะวัดได้อย่างตรงตามความต้องการและมีคุณภาพ ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค
ขั้นที่ 1 เตรียมครูผู้สอน ได้แก่ การศึกษาทักษะการสอน
ขั้นที่ 2 ทดลองสอนและบันทึกเทปวีดีทัศน์
ขั้นที่ 3 เรียนรู้ผลการประเมินการสอน
ขั้นที่ 4 ปรับปรุงพัฒนาการสอนกับนักเรียนกลุ่มใหม่
1.8 วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
วิธีการสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการและดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการนั้น
เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง
นักเรียนเริ่มต้นทำโครงการด้วยการตั้งปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
เช่น โครงการแก้ปัญหาความสกปรกของโรงเรียน เป็นต้น
การสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงาน Project Approach วงการศึกษาของไทยใช้ชื่อ “การสอนแบบโครงการ” ในระดับปฐมวัยศึกษาหรือระดับอนุบาลศึกษา และ ใช้ชื่อ การสอนแบบโครงงาน ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
การสอนดังกล่าวเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัย ความหมาย
คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้
การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ
หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครู
และทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา ทั้งนี้หัวเรื่องที่นำมาสืบค้นมักจะมีความหมายต่อตัวเด็ก
เช่น บ้านรถยนต์ รถเมล์ เครื่องบิน
โรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถบูรณาการเข้าในหลักสูตรปฐมวัยได้หลากหลายวิธี
ขึ้นอยู่กับครูและสถานศึกษาที่นำไปใช้ หรือบูรณาการเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ รวมทั้งภาษา ในขณะทำโครงการได้อีกด้วย
นักการศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นตรงกันเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการว่าเป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้ศึกษา ค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ในหัวข้อที่ตนสนใจ ด้วยการบูรณาการวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิธีนี้จึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย รวมทั้งยังเน้นการให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยืดหยุ่นตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ที่มา
นักการศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นตรงกันเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการว่าเป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้ศึกษา ค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ในหัวข้อที่ตนสนใจ ด้วยการบูรณาการวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิธีนี้จึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย รวมทั้งยังเน้นการให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยืดหยุ่นตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ที่มา
แนวคิด “Project Approach” เริ่มจากความเคลื่อนไหวของนักการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม
(Progressive) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่ 19
– 20 จอห์น ดิวอี้ ได้เขียนบทความและหนังสือที่เกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา
ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชนร่วมกัน
และได้นำโครงการเข้าไปใช้ในโรงเรียนทดลองที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ในปี ค.ศ.1943 ลูซี่ สปราค มิทเชลล์ (Lucy Spraque
Mitchell) ได้นำนักศึกษาของวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีท
เมืองนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อม
และได้สอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทนี้
มีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนการใช้โครงการวิธีการสอนที่แบบโครงการ ส่วนในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ครูโรงเรียนก่อนประถมศึกษาเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย ประเทศอิตาลี
ได้ประสบความสำเร็จในการนำโครงการเข้าไปใช้กับเด็กปฐมวัย
แต่ลักษณะโครงการส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางการเรียนรู้ภาษากราฟิก (เขียนภาพลายเส้น)
และข้อมูลที่ขยายการเรียนของเด็กผ่านโครงการรวมทั้งบทบาทของครูและพ่อแม่ในงานโครงการ
คุณค่าของโครงการ
คุณค่าของโครงการ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นให้สอน
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการสอนโดยการทำโครงการเป็นวิธีหนึ่ง
โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ประเภท คือ (วิมลศรี สุวรรณรัตน์, 2544)
1.โครงการตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงการที่นักเรียนมีกรอบการทำงานภายใต้วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง
2.โครงการตามความสนใจ นักเรียนอาสาสมัครทำตามความสนใจจากการสังเกตจากความสนใจส่วนตัว ประเภทของโครงการ
เนื่องจากโครงการ คือ การแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียน
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเนื้อหาหรือข้อสงสัยตรงกับรายวิชาใด
ก็จัดเป็นโครงการในรายวิชานั้น ๆ จึงแบ่ง
โครงการตามการได้มาซึ่งคำตอบของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.โครงการประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
2.โครงการประเภททดลอง
3.โครงการประเภทสิ่งประดิษฐ์
4.โครงการประเภททฤษฏี
1.9 วิธีการสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
วิธีการสอนแบบหน่วย
เป็นวิธีการที่นำเนื้อหาวิชามาสัมพันธ์กันโดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า
“หน่วย”
โดยไม่ยึดขอบเขตของรายวิชาแต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน
การสอนเป็นหน่วยนั้นบางหน่วยจะสอนเป็นเวลาหลายเดือน บางหน่วยสอนจบในเวลา 2-3 วัน แล้วแต่ความเล็กใหญ่ของหน่วย ชนิดของหน่วย
หน่วยแบ่งออกเป็น 4 ชนิดดังนี้
1.หน่วยเนื้อหา
คือหน่วยที่มุ่งเอาเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลางของหน่วยถือหนังสือเรียนหรือตำราเป็นแหล่งวิชาที่สำคัญที่สุดในการให้ความรู้แก่ผู้เรียน
ผู้เรียนได้รับความรู้ในการค้นคว้าจากหนังสือ ใช้เวลาในการสอนหน่วยหนึ่งไม่มากนัก
เพราะผู้สอนเป็นผู้นำในการเลือกหน่วย วางโครงการ วางแผนงานและทำงาน เช่น “หน่วยเรื่องความสะอาด” เป็นต้น
2.หน่วยประสบการณ์ คือหน่วยที่มุ่งเอาประสบการณ์ในชีวิตของผู้เรียนเป็นหลัก
เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจที่เรียนรู้
ผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกหน่วยงานและวางแผนงาน การวางแผนงานควรให้ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ผู้สอนควรคำนึงถึงระดับชั้น ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
เช่นหน่วยเรื่อง “อาชีพของคนไทย”
เป็นต้น
เป็นต้น
3.หน่วยกิจกรรม คือหน่วยงานที่มุ่งเอากิจกรรมเป็นหลัก
ผู้สอนจะต้องพิจารณาถึงความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ และวุฒิภาวะของผู้เรียนแต่ละคน
แต่ละวัย เพื่อเลือกกิจกรรมที่สนองความต้องการของผู้เรียนในระดับนั้น
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมและวางแผนที่จะแก้ปัญหา เช่นหน่วยเรื่อง “การรักษาความสะอาดภายในบ้านและโรงเรียน” “การปรับปรุงโรงเรียนของเรา” เป็นต้น
4.หน่วยวิทยาการ
คือหน่วยงานที่รวบรวมปัญหาตลอดจนกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆสำหรับผู้เรียนไว้โดยมูลแล้ว
เพื่อให้นำไปใช้สอนได้ เช่นหน่วยเรื่อง “ประเทศเพื่อนบ้านของไทย” เป็นต้น ขั้นตอนของการสอนแบบหน่วย
การสอนแบบหน่วย
แบ่งออกเป็น 5 ขั้นดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย (Introduction or
approach period) เป็นการสำรวจความต้องการ ความสนใจ
ให้ผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายของหน่วย โดยเร้าให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนด้วยวิธีต่างๆ
เช่นการสนทนาหรืออภิปรายปัญหา การแนะนำหนังสือให้อ่าน การไปศึกษานอกสถานที่
การไปชมนิทรรศการ การฉายภาพยนตร์ ให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์ของตนเอง
ให้อ่านหนังสือพิมพ์หรือวารสาร ฯลฯ เพื่อนำเข้าสู่ปัญหาที่จะเรียน
ผู้สอนมีหน้าที่ชี้ทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและตั้งความมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ขั้นนี้จบลงด้วยการช่วยกันตั้งชื่อหน่วย พร้อมกับรวบรวมปัญหาย่อยๆทั้งหมด
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและตั้งความมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ขั้นนี้จบลงด้วยการช่วยกันตั้งชื่อหน่วย พร้อมกับรวบรวมปัญหาย่อยๆทั้งหมด
2.ขั้นผู้สอนและผู้เรียนวางโครงการร่วมกัน (Pupil-teacher
planning period) เมื่อได้ชื่อหน่วยและปัญหาย่อยๆแล้ว
ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนร่วมกันเพื่อที่จะแก้ปัญหา
โดยช่วยกันตั้งความมุ่งหมายทั่วไป และความมุ่งหมายเฉพาะตั้งปัญหา แบ่งปัญหาออกเป็นหัวข้อย่อยๆประมาณ 4-6ข้อ ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มและเลือกหัวข้อที่จะทำ
ต่อไปก็มีการประชุมกลุ่มย่อย และรายงานผลการประชุม
ผู้สอนมีหน้าที่ช่วยผู้เรียนวางแผนแก้ปัญหา
มอบหมายงานให้ผู้เรียนแต่ละหมู่รับผิดชอบ ทำงานตามความสามารถและความสนใจ
แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งวิชาที่จะเป็นประโยชน์แก่การแก้ปัญหา
3.ขั้นดำเนินงาน (Working period) ผู้เรียนจะค้นคว้าหาความรู้ ทำงานและทดลอง
เป็นขั้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่
ผู้สอนมีหน้าที่ช่วยเหลือให้คำแนะนำเมือมีปัญหา ให้เข้าใจปัญหา รู้จักแหล่งวิชาที่ใช้แก้ปัญหาให้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและทำงานอย่างมีหลักเกณฑ์
ช่วยให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้โดยการไปสัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่
เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ค้นคว้าจากห้องสมุด ประดิษฐ์สิ่งต่างๆเช่นปั้น วาด
เป็นต้น ขั้นนี้แบ่งเป็น 2 ประการดังนี้
(1)
การสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารต่างๆ
ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง วิทยากร สังคม และธรรมชาติ
(2) ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ
เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะ
4. ขั้นเสนอกิจกรรม (Culmination
activity) เป็นการสรุปรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและเสนอผลงานซึ้งเป็นกิจกรรมที่แสดงออกในทางสร้างสรรค์
เช่น รายงานปากเปล่า อ่านรายงาน อภิปราย ทำสมุดภาพ แสดงละคร จัดนิทรรศการ ฯลฯ
5.ขั้นประเมิลผล (Evaluation) เมื่อผู้เรียนแสดงผลงานเสร็จแล้ว ผู้สอนควรประมวลความรู้ที่ได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน
นำมาจัดลำดับแสดงความสัมพันธ์ของความรู้และอาจเพิ่มเติมความรู้ที่ยังขาดให้ด้วย
แล้วทำการประเมินผลจากการวัดด้านต่างๆดังนี้
(1) วัดความรู้ทางวิชาการ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ทักษะต่างๆและความสามารถในการค้นคว้า เป็นต้น โดยทำการสัมภาษณ์หรือให้ทำข้อทดสอบ
(2) วัดความสามารถต่างๆ เช่น ความสามารถในการทดลอง
การทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการสังเกตพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกมาขณะกำลังทำงาน
(3) วัดเจตคติ เป็นการวัดทางด้านความรู้สึกนึกคิด
เช่นมีความรู้สึกที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานหรือไม่
มีความสนใจทำการค้นคว้าทดลองเพิ่มขึ้นหรือไม่ ฯลฯ โดยการสังเกตหรือสัมภาษณ์
(4) วัดคุณลักษณะส่วนตัว
เช่นการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้นำความคิดริเริ่มความรับผิดชอบ
ใจกว้างพอที่จะยอมรับคำวิจารณ์ ฯลฯ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบหน่วย
1.
เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
2.
เพื่อส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ได้แก่ นักเรียนร่วมกันปรึกษาหารือ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาร่วมกัน ข้อดีของวิธีสอนแบบหน่วย
1.
เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน
เพราะการสอนแบบนี้มีกิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ
2.
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู
3.
นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
4.
เป็นการสอนที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆในหลักสูตร ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบหน่วย
1.
วิธีสอนแบบนี้ต้องใช้เวลามาก
2. ครูผู้สอน
ต้องมีแหล่งความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ และหลากหลาย
สรุป
สรุป
วิธีการสอนแบบหน่วย
เป็นการสอนที่นำเนื้อหาหลายๆวิชามาสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียวกัน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า แก้ปัญหาด้วยตนเอง
และส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งวิธีการสอนแบบหน่วยจะมี 4 ชนิดคือ หน่วยเนื้อหาวิชา หน่วยประสบการณ์
หน่วยกิจกรรม และหน่วยวิทยากร มีขั้นตอนในการสอนดังนี้ ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นนักเรียน
ครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม ขั้นลงมือทำงาน
ขั้นเสนอกิจกรรม และขั้นประเมินผล
1.10 วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียน เลยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดในชุดการสอน
แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม
แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15-20 นาทีจนครบทุกศูนย์ ลักษณะของศูนย์การเรียน
1. ผู้สอนต้องจัดห้องเรียนให้มีบรรยากาศน่าเรียน
และสะดวกในการประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดโต๊ะเรียนเป็นกลุ่ม 4-6 ตัว
2. ผู้สอนต้องวางแผนและเตรียมชุดการสอนรวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ให้พร้อม
คอยดูแลให้ความ
ช่วยเหลือและบันทึกพัฒนาการของผู้เรียนในขณะที่ประกอบกิจกรรม
3. ผู้สอนต้องเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียน และสรุปบทเรียน
รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็นและความสามารถ
4. ต้องมีการพัฒนาทักษะในการทำงานของนักเรียน ได้แก่ ทักษะการควบคุมตนเอง
การทำงานเป็นทีม การทำตามกติกาของกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การประเมินผลตนเอง
และการบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนด้วยตนเอง ขั้นตอนในนวัตกรรมแบบศูนย์การเรียน
1. เตรียมตัวผู้สอนด้วยการศึกษาคู่มือ แผนการสอนอย่างละเอียด
แล้วเตรียมสื่อ-อุปกรณ์และสถานที่
2. ทดสอบผู้เรียนก่อนเรียน
3. เริ่มทำกิจกรรมด้วยการนำเข้าสู่บทเรียน
4. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกตามจำนวนศูนย์การเรียน
5. ผู้เรียนลงมือศึกษาตามศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์หมุนเวียนกันไปจนครบทุกศูนย์
กรณีที่ถ้ามีกลุ่มใดเสร็จก่อนในขณะที่ยังไม่มีกลุ่มอื่นเสร็จ
ให้ไปเรียนรอในศูนย์สำรองก่อน
6. สรุปบทเรียนและทดสอบหลังสอน ข้อดีของนวัตกรรมศูนย์การเรียน
1. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการเป็นประชาธิปไตย
2. สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพโดยการให้โอกาสนักเรียนได้เรียนตามความสนใจ
และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ได้ทราบถึงพัฒนาการของผู้เรียนจากการบันทึกพัฒนาการในการเรียน
และผลการสอบก่อนสอนและสอบหลังสอน
4. ผู้เรียนมีความตื่นตัวตลอดเวลาเพราะมีการเปลี่ยนศูนย์การเรียนทุก 15-20
นาที
1.11
วิธีการสอนแบบใช้บทเรียนเป็นโปรแกรม (Programmed Instruction)
วิธีการสอนแบบใช้บทเรียนเป็นโปรแกรม
หมายถึง
สื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล
โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆกรอบ
แต่ละกรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทำพร้อมเฉลยคำตอบ
ประเภทของการสอนแบบโปรแกรม
การสอนแบบโปรแกรม แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
การสอนแบบโปรแกรม แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.การสอนแบบโปรแกรมในฐานวิธีการ
เป็นการสอนที่ใช้วิธีการอย่างเดียว และใช้สื่อร่วมเพียง 1-2 อย่าง
เช่น บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมภาพ สไลด์เทปโปรแกรม ฯลฯ
2.การสอนแบบโปรแกรมในฐานะกระบวนการ เป็นการสอนแบบโปรแกรมที่ใช้วิธีการหลายอย่างและใช้สื่อประสมตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป เช่น ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม การสอนทางไกล หลักการสำคัญของการสอนแบบโปรแกรม
2.การสอนแบบโปรแกรมในฐานะกระบวนการ เป็นการสอนแบบโปรแกรมที่ใช้วิธีการหลายอย่างและใช้สื่อประสมตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป เช่น ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม การสอนทางไกล หลักการสำคัญของการสอนแบบโปรแกรม
การสอนโปรแกรมนั้น
มีองค์ประกอบซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 4 ประการ ดังนี้
1.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง อย่างกระฉับกระเฉง (Active Participation) ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีถ้าผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเกิดความสนใจ ไม่เบื่อหน่วย เป็นการเรียนรู้แบบ Active เช่น ผู้เรียนอ่าน ปฏิบัติการทดลอง ตอบคำถาม อภิปราย กิจกรรมเหล่านี้จะเอื้อให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง คิดค้นหาคำตอบ ซึ่งจะตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
2.ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับทันที (Immediate feedback) หลังจากผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเองแล้ว ควรจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบผลทันทีว่า สิ่งที่ได้ทำแล้วนั้นผิดหรือถูกถ้าผิดควรบอกเหตุผลว่า เพราะเหตุใด การที่ผู้เรียนได้ทราบย้อนกลับในทันทีนี้จะมีผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง และจดจำได้ดี แต่ถ้าผู้เรียนตอบได้ถูกต้องก็จะก่อให้เกิดแรงเสริม ทำให้เกิดกำลังใจที่จะเรียนรู้ต่อไป
3.จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความสำเร็จ (Successful Experience) ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จเป็นระยะที่ต่อเนื่องกันไปจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจในการเรียนนั้น ๆ เปรียบเสมือนรางวัล หรือการเสริมแรงที่จะทำให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะศึกษาต่อไป แต่ถ้าจัดบทเรียน หรือประสบการณ์ที่ยากเกินไป ก็มีผลทำให้ผู้เรียน ทำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ก็จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายไม่ต้องการศึกษาต่อไป
1.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง อย่างกระฉับกระเฉง (Active Participation) ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีถ้าผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเกิดความสนใจ ไม่เบื่อหน่วย เป็นการเรียนรู้แบบ Active เช่น ผู้เรียนอ่าน ปฏิบัติการทดลอง ตอบคำถาม อภิปราย กิจกรรมเหล่านี้จะเอื้อให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง คิดค้นหาคำตอบ ซึ่งจะตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
2.ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับทันที (Immediate feedback) หลังจากผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเองแล้ว ควรจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบผลทันทีว่า สิ่งที่ได้ทำแล้วนั้นผิดหรือถูกถ้าผิดควรบอกเหตุผลว่า เพราะเหตุใด การที่ผู้เรียนได้ทราบย้อนกลับในทันทีนี้จะมีผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง และจดจำได้ดี แต่ถ้าผู้เรียนตอบได้ถูกต้องก็จะก่อให้เกิดแรงเสริม ทำให้เกิดกำลังใจที่จะเรียนรู้ต่อไป
3.จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความสำเร็จ (Successful Experience) ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จเป็นระยะที่ต่อเนื่องกันไปจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจในการเรียนนั้น ๆ เปรียบเสมือนรางวัล หรือการเสริมแรงที่จะทำให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะศึกษาต่อไป แต่ถ้าจัดบทเรียน หรือประสบการณ์ที่ยากเกินไป ก็มีผลทำให้ผู้เรียน ทำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ก็จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายไม่ต้องการศึกษาต่อไป
1.12
บทเรียนโมดูล (Module)
บทเรียนโมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง
ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพื่อให้การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น องค์ประกอบที่สำคัญ
1.หลักการและเหตุผล
2.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
3.การประเมินผลก่อนเรียน
4.กิจกรรมการเรียน
5.การประเมินผลหลังเรียน คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล
1. โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วน ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
2. ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล
1. การวางแผน
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน
ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล
เป็นบทเรียนสำเร็จรูป เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่างเอาไว้ด้วยกันช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน
ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล
เป็นบทเรียนสำเร็จรูป เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่างเอาไว้ด้วยกันช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ
1.13 คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
(Computer Assisted Instruction)
คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน
หลักการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกความคิด
มุ่งที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นสื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
ในสถานการณ์และเนื้อหาวิชาที่มีความยาวที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะทางการรับรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ผู้เรียนได้ทราบผลแห่งกรทำกิจกรรมทันที
และผู้เรียนได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ
1.14 การสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริม หมายถึง
การจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน
ขาดความคิดรวบยอด หรือจัดการเรียนการสอนเพิ่มแก่นักเรียนที่ฉลาดเพื่อได้รัยรู้ความรู้เพิ่มขึ้น
แต่ส่วนใหญ่การซ่อมเสริมมักจัดให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ เรียนในเวลาไม่รู้เรื่อง
ไม่สนใจเรียน
1.15 หมวกแห่งความคิด (The
Six Thinking Hat)
Edward De Bon ได้พัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิด
หมวก คือ
จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิด ทั้งคิดในรอบ คิดทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่สนใจ
ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆ แทนที่จะยึดกับความคิดเพียงด้านเดียว
หมวกแห่งความคิดมี 6 ใบ ดังนี้ 1.หมวกสีขาว
ขาวบริสุทธิ์ เป็นตัวแทนข้อเท็จจริง ข้อมูลตัวเลข เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับไม่มีข้อโต้แย้ง
วิธีการใช้
ผู้เรียนคนใดสวมหมวกสีขาว หมายถึง การร้องขอให้สมาชิกคนอื่นเงียบ
ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใดผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริงหรือความรู้ 2. หมวกสีแดง
แทนอารมณ์ความรู้สึกและการหยั่งรู้
วิธีการใช้
เมื่อมีการสวมหมวกสีแดง คือ ความต้องการให้สมาชิกพูดแสดงความรู้สึกของตนเองต่อเรื่องราวต่างๆ
เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี 3. หมวกสีดำ
แทนความคิดทางลบในทางที่ไม่ดี ไม่ได้ผล จุดด้อย ข้อผิดพลาด
วิธีการใช้
เมื่อมีการสวมหมวกสีดำ คือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ข้อเสีย ข้อผิดพลาด
หมวกสีดำจะไม่ใช่เรื่องเริ่มแรกในกรณีที่มีการเสนอความคิดใหม่ๆ
ในทางปฏิบัติจะใช้หมวกสีเหลืองก่อน 4. หมวกสีเหลือง
แทนสิ่งที่ถูกต้อง ความสร้างสรรค์ สนับสนุน ให้กำลังใจ
วิธีการใช้
เมื่อมีการสวมหมวกสีเหลือง คือความต้องการให้บอกถึงด้านดี จดเด่น คุณค่าประโยชน์
ความคิดใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
การใช้หมวดสีเหลืองจะช่วยพัฒนาความคิดใหม่ๆ ซึ่งงจะนำไปสูการคิดแบบสร้างสรรค์ 5. หมวกสีเขียว
แทนการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ คุณค่าของความคิด
วิธีการใช้
การสวมหมวกสีเขียวจึงเป็นการต้องการ ให้แสดความคิดใหม่ๆ
ความคิดที่ได้นั้นมีความเป็นไปได้และต้องเป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ด้วย 6. หมวกสีน้ำเงิน
แทนการควบคุม ควบคุมบทบาทสมาชิกของกลุ่ม
วิธีการใช้
เมื่อมีการสวมหมวกสีน้ำเงิน คือ หัวหน้า สมาชิกอื่นๆ
ควบคุมกระบวนการทำงาน ควบคุมวิธีการอภิปรายรวมทั้งการควบคุมการกำหนดปัญหา
กระบวนการคิด
1.16
การสอนแบบ 4 MAT
เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม
แต่กิจกรรมจะเน้น 4 ขั้นตอน
หรือใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
ขั้นที่ 1
Why (ทำไม) เพื่อตั้งคำถามกระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
ขั้นที่ 2
What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
ขั้นที่ 3 How
(ทำอย่าไร) เป็นการนำไปปฏิบัติ นำไปใช้
ขั้นที่ 4
If (ถ้า…) เป็นการกระตุ้น
แมคคาร์ธี
และคณะ (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น,
2542) ได้นำแนวคิดของคอล์ม
มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้ง 2ซีก
ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม กับผู้เรียน 4 แบบ คือ
- ผู้เรียนแบบที่ 1
(Imaginative Learners) คือ
ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรม
ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง
เขาจะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของตนเองได้อย่างดี การเรียนแบบร่วมมือ
การอภิปรายและการทำงานกลุ่มจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้
คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือ “ทำไม”
(Why ?)
- ผู้เรียนแบบที่ 2
(Analytic Learners) คือ
ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่
เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่เป็นทฤษฎี
รูปแบบ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูลจากตำราหรือเอกสารต่าง
ๆ รวมทั้งการเรียนรู้แบบบรรยาย จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเหล่านี้
คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “อะไร”
(What ?)
- ผู้เรียนแบบที่ 3
(Commonsense Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ/มี
ความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้วนำสู่การลงมือปฏิบัติ
เขาให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ ความก้าวหน้า และการทดลองปฏิบัติ
กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติและกิจกรรมการแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
ของผู้เรียนในกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “อย่างไร” (How ?)
- ผู้เรียนแบบที่ 4
(Dynamic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้
ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ
ค้นคว้า การค้นพบด้วยตนเอง
แล้วเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง
คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “ถ้า”
(If ?) ขั้นตอนในการสอน
1.
ขั้นนำให้เกิดความเข้าใจและแรงจูงใจ เป็น การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนทางด้านทักษะนั้นๆ
ครูเสนอแนะสิ่งที่จะต้องฝึกและปฏิบัติ
อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจในวิธีการฝึกและปฏิบัติจากใบความรู้
2.
ขั้นฝึกและปฏิบัติ เป็นขั้นของการฝึกหัดเพื่อให้เกิดทักษะ
หรือเพื่อลดความผิดพลาดในกรทำงานให้น้อยลง จนกระทั้งหมดไปในที่สุด
โดยฝึกและปฏิบัติจากใบความรู้ใบงาน
3.ขั้นนำไปใช้
เป็นขั้นของการเกิดทักษะ
ซึ่งสามารถทำสิ่งนั้นๆได้อย่างอัตโนมัติจากการฝึกและปฏิบัติมาแล้ว
4. ขั้นประเมินผล
เป็นขั้นตอนที่ต้องการทราบความก้าวหน้าของการฝึกและปฏิบัติใบงานหรือทักษะนั้น
ๆ ตลอดจนความรู้ทางวิชาการ เจตคติและคุณลักษณะส่วนตัวของผู้เรียน ข้อดี
1. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการทำจริงและประสบการณ์ตรง
3. เรียนรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี
4. สามารถถ่ายทอดการเรียนรู้ไปใช้สถานการณ์เช่นเดียวกันได้ดี
5 ดีมากสำหรับการพัฒนาด้านทักษะ
6. ผู้เรียนมีจุดม่งหมายที่แน่นอน
7. การทำกิจกรรมการเรียนโดยการฝึกและปฏิบัติอาจดำเนินโดยผู้เรียนเป็นรายบุคคล
หรือเป็นกลุ่มเล็ก
ๆ ก็ได้
8. ผู้สอนมีเวลาที่จะให้ความช่วยเหลือและการสอนแก่ผู้เรียนทึต้องการความช่วยเหลือ
ผู้เรียนอาจศึกษากิจกรรม
วิธีปฏิบัติจากสื่อที่สามารถเรียนด้วยตนเองได้ ข้อจำกัด
1 ใช้เวลามาก
2. นำไปสู่ความน่าเบื่อ
นอกจากจะมีแรงจูงใจสูงและมีจุดหมายที่แน่นอน
3. ไม่ช่วยเหลือให้นักเรียนเข้าใจจุดม่งหมายใหม่
ๆ
4. ผู้เขียนบางคนเรียนเพียง Drill แต่ไม่เรียนรู้ถึงคุณค่า
5. การทำซ้ำๆอย่างไม่มีความหมาย
อาจเป็นอุปสรรคที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ
6. กรณีที่ให้ปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม
ๆ สมาชิกบางคนอาจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงาน
1.17
แผนกานสอนแบบ CIPPA
แผนกานสอนแบบ
CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5 ด้านได้แก่
1. Construct หรือการสร้างความรู้ตามแนวคิดของ
Constructivism ที่เปิดโอกาสให้ผ้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2. Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์
หมายถึง ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน สื่อ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. Physical Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย หมายถึง
ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมลักษณะต่างๆ
4. Process Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ
ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
5. Application หรือการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
หมายถึง ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ
1.18 วิธีการสอนแบบ Storyline
วิธีการสอนแบบ Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษา ศิลปะ
โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหาและกิจกรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะ เช่น
เรียนรายบุคคลกลุ่มใหญ่แต่เน้นการทำงานแบบร่วมมือและทำงานเป็นทีม
2.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิค/วิธีการสอน
|
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
|
บทบาทผู้เรียน
|
1.กระบวนการสืบค้น
|
การศึกษาค้นคว้า
· การเรียนรู้กับกระบวนการ
· การตัดสินใจ
ความคิดสร้างสรรค์
|
ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
|
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ
|
· การสังเกต การสืบค้น
· การใช้เหตุผล การอ้างอิง
· การสร้างสมมุติฐาน
|
ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
|
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
|
· การศึกษาแบบค้นคว้า
· การวิเคราะห์
สังเคราะห์
· ประเมินค่าข้อมูล
· การลงข้อสรุป
· การแก้ปัญหา
|
ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
|
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผัง
|
· การคิด
· การจัดระบบความคิด
|
จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
|
5.การตั้งคำถาม
|
· กระบวนการคิด
· การตีความ
· การไตร่ตรอง
· การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
|
เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
|
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล
|
· การศึกษาค้นข้อความรู้
· การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
· ความรับผิดชอบ
· การตอบคำถาม
|
เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
|
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
|
· การแก้ปัญหา
· การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
· การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
· การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
· บทเรียนสำเร็จรูป
· คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
· e-learning
|
เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
|
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่
|
· การแสดงความคิดเห็น
· การวิเคราะห์
· การตีความ
· การสื่อความหมาย
· ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
· การสรุปความ
|
มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม
ในการสร้างข้อความรู้
|
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
|
· กระบวนการการกลุ่ม
· การวางแผน
· กาแก้ปัญหา
· การตัดสินใจ
· ความคิดระดับสูง
· ความคิดสร้างสรรค์
· การแก้ไขข้อขัดแย้ง
· การสื่อสาร
· การประเมินผลงาน
· การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
|
รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม
ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
|
9.1 เทคนิคคู่คิด
|
· การค้นคว้าหาคำตอบ
· การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
|
รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
|
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง
|
· การมีส่วนร่วม
· การแสดงความคิดเห็น
· ความคิดสร้างสรรค์
· การแก้ปัญหา
|
แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
|
9.3 เทคนิค buzzing
|
· การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
|
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
|
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ
|
· การสื่อสาร
· การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
· การสรุปข้อความ
|
รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
|
9.5 กลุ่มติว
|
· การฝึกซ้ำ
· การสื่อสาร
|
ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
|
10.การฝึกปฏิบัติการ
|
· การค้นคว้าหาความรู้
· การรวบรวมข้อมูล
· การแก้ปัญหา
|
ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
|
11.เกม
|
· การคิดวิเคราะห์
· การตัดสินใจ
· การแก้ปัญหา
|
ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
|
12.กรณีศึกษา
|
· การค้นคว้าหาความรู้
· การอภิปราย
· การวิเคราะห์
· การแก้ปัญหา
|
ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
|
13.สถานการณ์จำลอง
|
· การแสดงความคิดเห็น
· ความรู้สึก
· การวิเคราะห์
|
ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
|
14.ละคร
|
· ความรับผิดชอบในบทบาท
· การทำงานร่วมกัน
· การวิเคราะห์
|
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น
|
15.บทบาทสมมุติ
|
· มนุษย์สัมพันธ์
· การแก้ปัญหา
· การวิเคราะห์
|
ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
|
16.การเรียนแบบร่วมมือ
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT STAD, LT, NHT, Co-op Co-op
|
· กระบวนการกลุ่ม
· การสื่อสาร
· ความรับผิดชอบร่มกัน
· ทักษะทางสังคม
|
ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่
รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
|
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
|
· การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
· การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
· กระบวนการกลุ่ม
|
มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
|
18.การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
แบบ Shoreline
Method
|
· การค้นคว้าหาความรู้
· การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
· ทักษะทางสังคม
|
มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย
จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง
|
3. เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้อย่างตื่นตัว
หมายถึง การมีส่วนร่วมที่ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้า
(สิ่งที่เรียน) มิใช่เพียงการรับสิ่งเร้าหรือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นผู้รับเท่านั้น
การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงได้ดี การเรียนรู้ที่แท้จริง
หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น (ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ
ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ)
จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดกระทำต่อสิ่งเร้าต่างๆ
เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้านั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน
จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจอย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้ เทคนิคกับวิธีสอน คืออะไร
วิธีสอน หมายถึง
ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ
เทคนิคการสอน หมายถึง
กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน
หรือการกระทำใดๆทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น เทคนิคกับวิธีสอน ต่างกันอย่างไร
เกมเป็นวิธีการสอนได้ถ้าครูมุ่งใช้เกมเป็นหลักในการสอน
มีขั้นตอนที่เป็นลักษณะเฉพาะของเกมที่ชัดเจน
เกมเป็นเทคนิคการสอนได้ถ้าครูมีวิธีสอนอื่นเป็นหลัก
แต่เอาเกมมาเป็นตัวช่วยให้วิธีการสอนนั้นมีคุณภาพมากขึ้น วิธีสอนแบบเกม
- เทคนิคการตั้งคำถาม
- เทคนิคผังกราฟิก
- เทคนิค KWL วิธีสอนแบบบรรยาย
- เทคนิคการตั้งคำถาม
- เทคนิคผังกราฟิก
- เทคนิค KWL
- เทคนิคการใช้เกม วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ
วิธีนี้เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ กำหนดโดยให้นักเรียสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้เกิดการเรียนรุ้ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่น องค์ประกอบสำคัญ (ขาดไม่ได้) ผู้สอน ผู้เรียน สถานการณ์สมมติ บทบาทสมมติ การแสดงบทบาทสมมติ การอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นตอนสำคัญ (ขาดไม่ได้)
1.ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ 2.ผู้สอน / ผู้เรียน เลือกผู้แสดงบทบาท
3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5. ผู้สอน / ผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
6. ผู้สอน / ผู้เรียน สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1.ช่วยให้เกิดกาเรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
2.ช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรม
3.ช่วยพัฒนาทักษะการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา
4.ช่วยให้การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
5.ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วม สนุกในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ข้อจำกัด
1.ใช้เวลามาก
2.ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการที่รัดกุม หากจัดการไม่ดีอาจเกิดความยุ่งยากสับสนเกิดขึ้น
3.ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ของผู้สอน หากขาดคุณสมบัตินี้ ไม่รับรู้ปัญที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญแต่ต้น อาจมีปัญหาต่อเนื่องได้
4.ครูต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหา กรณีการแสดงไม่เป็นไปตามความคาดหมาย ดังนั้นจะต้องสมารถปรับสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้ วิธีสอนโดยกรณีศึกษา
- เทคนิคการตั้งคำถาม
- เทคนิคผังกราฟิก
- เทคนิค KWL วิธีสอนแบบบรรยาย
- เทคนิคการตั้งคำถาม
- เทคนิคผังกราฟิก
- เทคนิค KWL
- เทคนิคการใช้เกม วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ
วิธีนี้เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ กำหนดโดยให้นักเรียสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้เกิดการเรียนรุ้ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่น องค์ประกอบสำคัญ (ขาดไม่ได้) ผู้สอน ผู้เรียน สถานการณ์สมมติ บทบาทสมมติ การแสดงบทบาทสมมติ การอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นตอนสำคัญ (ขาดไม่ได้)
1.ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ 2.ผู้สอน / ผู้เรียน เลือกผู้แสดงบทบาท
3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5. ผู้สอน / ผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
6. ผู้สอน / ผู้เรียน สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1.ช่วยให้เกิดกาเรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
2.ช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรม
3.ช่วยพัฒนาทักษะการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา
4.ช่วยให้การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
5.ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วม สนุกในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ข้อจำกัด
1.ใช้เวลามาก
2.ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการที่รัดกุม หากจัดการไม่ดีอาจเกิดความยุ่งยากสับสนเกิดขึ้น
3.ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ของผู้สอน หากขาดคุณสมบัตินี้ ไม่รับรู้ปัญที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญแต่ต้น อาจมีปัญหาต่อเนื่องได้
4.ครูต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหา กรณีการแสดงไม่เป็นไปตามความคาดหมาย ดังนั้นจะต้องสมารถปรับสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้ วิธีสอนโดยกรณีศึกษา
เป็นวิธีการที่ใช้กรณีหรือเรื่องต่างๆ
ที่เกิดขึ้นจริงมาดัดแปลงและใช้เป็นตัวอย่างในการให้ผู้เรียนได้ศึกษา
วิเคราะห์และอภิปรายเพืื่อสร้างความเข้าใจ และฝึกฝนหาทางแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้ฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง
เปิดโอกาสให้คิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดผู้อื่น มีมุมมองที่กว้างขึ้น
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
ผู้สอน ผู้เรียน
มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง มีประเด็นคําถามให้คิดหาคําตอบ
มีคําตอบหลากหลาย ไม่มีคําตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน
มีการอภิปรายสภาพการณ์ ปัญหา มุมมอง วิธีแก้ปัญหาและสรุปการเรียนรู้
มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนการสอน (ขาดไม่ได้)
1.ผู้สอน/ผู้เรียนนำเสนอกรณี
2.ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง
3.ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
4.ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ
5.ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ปัญหา
ของผู้เรียน
และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
6.ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
3. เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
และส่งเสริมการเรียนรู้จาก กันและกัน
ข้อจำกัด
หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน
การเรียนรู้อาจไม่กว้าง เท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน วิธีสอนโดยใช้เกม
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น
โดยให้ผู้เรียนเล่นเกมภายใต้ข้อตกลงหรือกติกาบางอย่าง
และนําเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมมาใช้อภิปรายเพื่อ
สรุปการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้เรื่องที่สอนอย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ
โดยผู้เรียนเล่นเอง ทําให้ได้ประสบการณ์ตรง ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
ผู้สอน ผู้เรียน มีเกมและกติกาการเล่น มีการเล่นเกมตามกติกา
มีการอภิปรายเกี่ยวกับ ผลการเล่น วิธีการเล่น
และพฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังจากเล่นแล้ว มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
1. ผู้สอนนําเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
2. ผู้เรียนเล่นตามกติกา
3.ผู้สอน
ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่มี
ความหมายและคงทน
2. ผู้สอนไม่เหนื่อยมาก และผู้เรียนชอบ
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน สนุก เกิดการเรียนรู้จากการเล่น
ข้อจํากัด
1.ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม
2. ต้องอาศัยการเตรียมการมาก เกมเพื่อการฝึกทักษะ แม้จะไม่ยุ่งยากซับซ้อนนัก
แต่ต้อง เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การเล่นให้ผู้เรียนจํานวนมาก
3. ผู้สอนต้องมีทักษะในการนําการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ
จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียน ประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ วิธีสอนโดยการทดลอง
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการเห็นผลประจักษ์ชัดจากการคิดและ
การกระทําของตนเองผู้สอนต้องกําหนดจุดมุ่งหมายและกระบวนการในการทดลองให้ชัดเจน
วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่มเกิดการเรียนรู้
โดยการเห็นผลประจักษ์ จากการคิดและการกระทําของตนเอง
ทําให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง มีความหมาย และจําได้นาน
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
ผู้สอน ผู้เรียน มีปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง มีวัสดุอุปกรณ์สําหรับการทดลอ
มีการทดลอง มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการทดลอง
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
1.ผู้สอน ผู้เรียน กําหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง
2. ผู้สอนให้ความรู้ที่จําเป็นต่อการทดลอง ให้ขั้นตอน รายละเอียด
ในการทดลองแก่ผู้เรียน โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
3. ผู้เรียนลงมือทดลองโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นตามขั้นตอนที่กําหนดและบันทึกข้อมูล
การทดลอง
4. ผู้เรียนวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง
5. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้
6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงผ่านกระบวนการพิสูจน์ ทดสอบ
และเห็นผลด้วย ตนเอง จึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี เข้าใจ และจดจําได้นาน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก เช่น ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะ
กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งได้พัฒนาลักษณะนิสัยใฝ่รู้
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
ข้อจํากัด
1. ค่าใช้จ่ายสูง หากต้องใช้วัสดุอุปกรณ์มาก หรือต้องออกนอกสถานที่
2. ใช้เวลามาก ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ
และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จึงจะสามารถสอนและฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น โดยให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีหลักการ กฎ และข้อสรุปในเรื่องที่เรียน
แล้วจึงให้ตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกนําทฤษฎี หลักการ กฎ
หรือข้อสรุปนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้หลักการและสามารถนําหลักดังกล่าวไปใช้ได้
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
ผู้สอน ผู้เรียน มีทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ
มีตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามารถนําทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ
นั้นไปใช้ได้ มีการฝึกนําทฤษฎี หลักการ กฎ หรือ
ข้อสรุปต่างๆไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
1.ผู้สอนถ่ายทอดทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ
ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วย วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
2. ผู้สอนให้ตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย
ที่สามารถนําความรู้ที่ได้เรียนมาไปใช้
3. ผู้สอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัตินําความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
4. ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์และอภิปรายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
5. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนําทฤษฎี หลักการ กฎ
หรือข้อสรุปต่างๆ ไปใช้ใน สถานการณ์ใหม่
3. ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถหรือเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนาได้โดยไม่ต้องรอผู้เรียนรู้
ที่ช้ากว่า
ข้อจํากัด
1.ผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่าง สถานการณ์ ปัญหา
ที่หลากหลายให้ผู้เรียนฝึกทํา
2. หากผู้เรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า อาจตามไม่ทันเพื่อน
เกิดปัญหาตามมา วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้นโดยการนําตัวอย่างข้อมูลความคิด/เหตุการณ์สถานการณ์
ปรากฏการณ์ ที่มีหลักการ/แนวคิด ที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียน
มาให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์ จนสามารถดึงหลักการ/แนวคิดที่แฝงอยู่ออกมา
เพื่อนําไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถจับหลักการ
หรือประเด็นสําคัญ ได้ด้วยตนเอง ทําให้เกิดการเรียนรู้หลักการ/แนวคิด
หรือข้อความรู้ต่างๆ อย่างเข้าใจ
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
ผู้สอน ผู้เรียน มีตัวอย่าง/ข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์
ความคิด ที่เป็น ลักษณะย่อยๆ ของสิ่งที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
มีการวิเคราะห์ตัวอย่างต่างๆ เพื่อหาหลักการร่วมกัน
มีข้อสรุปที่มีลักษณะเป็นหลักการ/แนวคิด มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
1. ผู้สอนหรือผู้เรียนยกตัวอย่าง/ข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์
ความคิด ที่เป็น ลักษณะย่อยของสิ่งที่จะเรียนรู้
2. ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์หาหลักการที่แฝงอยู่ในตัวอย่างนั้น
3.ผู้เรียนสรุปหลักการ/แนวคิด ที่ได้จากตัวอย่างนั้น
4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ทําให้เข้าใจและจดจําได้ดี
2. ได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
3. เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการ
ข้อจํากัด
1. ใช้เวลามาก
2. ต้องใช้ตัวอย่างที่ดี ยังมีวิธีสอนที่น่าสนใจอีกเยอะ
- การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) STAD, TGT, Gl, NHT,
CIRT, ฯลฯ
- การจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่ม
- การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
- การจัดการเรียนรู้แบบ KWL, KWL Plus, KWLH, KWDL
- การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PBL
- การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต
(FPS)ฯลฯ เทคนิคการใช้คําถาม
คําสั่ง : จงตั้งคําถามจากเรื่องเล่าต่อไปนี้ให้ได้มากที่สุด
“เด็กหญิงแพรไหมกําลังเก็บผักบุ้งอยู่ที่แปลงผักของโรงเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจตั้งแต่เช้า
เนื่องจากคนครัวของโรงอาหารได้สั่งซื้อผักบุ้งจํานวน 10 กิโลกรัมเพื่อนํามาทําเป็นอาหารกลางวัน
ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน”
• การใช้คําถามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ
ต้องมีการศึกษาลักษณะของคําถาม และครูต้องใช้ศิลปะในการถามซึ่งเป็นสิ่งจําเป็น
• เพราะฉะนั้นครูต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะในการใช้
• การใช้คําถามสามารถดึงดูดความสนใจ
ต้องอาศัยประสบการณ์ในการใช้
ใคร?
อะไร? ที่ไหน? อย่างไร?
เมื่อใด? ทําไม? เท่าใด?
ประโยชน์ของคําถาม
1. เสริมสร้างความสามารถในการคิดให้แก่ผู้เรียน
2. เพื่อเร้าความสนใจใช้ในการนําเข้าสู่บทเรียน
3. คําถามที่ดีจะทําให้มีการอภิปรายต่อเนื่องกันไป
4. ขยายความคิด
5. ทําให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
6. ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
7. ก่อให้เกิดการค้นคว้าและสํารวจหาความรู้ใหม่
8. ใช้ทบทวนหรือสรุปเรื่องราวที่สอน
9. ใช้วัดความเข้าใจ ความสามารถของผู้เรียน
และใช้วัดการสอนของผู้สอนด้วย
ลักษณะคําถามที่ดี
• มีความชัดเจนผู้เรียนรู้ว่าต้องการถามอะไร
• เข้าใจง่าย ภาษาพูดเข้าใจง่าย
• มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การเรียน การสอน
สัมพันธ์กับเรื่องราว เนื้อหา กิจกรรม
เทคนิคการใช้คําถาม
• ถามด้วยความมั่นใจ
• ความกลมกลืนในการถาม
• ถามให้เป็นภาษาพูดง่ายๆ
• เว้นระยะให้คิด อย่าเร่งรัดคําตอบจากผู้เรียนมากเกินไป
• ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
1.ผังความคิด (A Mind Map)
2.ยังมโนทัศน์ (A Concept map)
3.ผังแมงมุม (A Spider Map)
4.ผังก้างปลา (A fish borne Map)
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆให้เห็นในภาพรวม
โดยใช้เส้น คํา ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพ
แสดงความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้นๆ มีขั้นตอนหลักๆ
ในการทําดังนี้
1.1 เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกไปเป็นความคิดรวบยอดย่อยๆ
1.2 เขียนคําที่เป็นตัวแทนความหมายของความคิดนั้นๆลงไป
และใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดง ระดับของคํา คําใดอยู่ในขอบเขตหรือระดับเดียวกัน
ใช้รูปทรงเรขาคณิตเดียวกันล้อมกรอบคํานั้น
1.3 ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ
อาจเป็นเส้นตรง โค้ง ลูกศร เส้นประ
1.4 ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นตัวแทนความหมายของ ความคิดและความรู้สึกต่างๆ
1.5 สร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ ตามความเข้าใจของตน
เป็นการแสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง
และแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างมโนทัศน์ใหญ่และย่อยตามลําดับขั้น ด้วยเส้นเชื่อมโยง
เป็นการแสดงมโนทัศน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม
เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน
ช่วยทําให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุ ย่อยที่ชัดเจน
1.KWL
2.KWLplus
3.KWLH
4.KWDL 1.KWL
Know (รู้อะไรบ้าง)
Want to know (ต้องการรู้อะไร)
Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)
ขั้นตอนการเรียนรู้ KWL
1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
2. ทําตาราง KWL ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L) หลังการอ่าน
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWL
1. นํามาใช้เพื่อพัฒนาการอ่านได้ทุกระดับ ทุกรายวิชา
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWL เรื่อง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
Know
บทอ่านเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
หรือ รู้อะไรบ้างจากเรื่องที่กำหนด
|
Want To Know
อยากรู้อะไรบ้างจากบทที่อ่าน
หรือ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมจากบทที่อ่าน
|
Learned
เรียนรู้อะไรบ้างจากบทที่อ่าน
|
2.KWL plus
plus = ทําแผนผังมโนทัศน์
Know (รู้อะไรบ้าง)
What do we want to learn (ต้องการรู้อะไร)
What did we Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWL plus
1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
2. ทําตาราง KWL plus ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กําหนดให้
แล้วบันทึก
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หลังการอ่าน
6. ทําแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping หรือ Concept
Mapping)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWL plus
1.นํามาใช้เพื่อพัฒนาการอ่านได้ทุกระดับ
ทุกรายวิชา
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3. นํามาใช้พัฒนาการลําดับขั้นตอนการคิดแบบรวบยอดของผู้เรียนได้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWL plus
3.KWDL
What to know (รู้อะไรบ้าง)
What we want to know (ต้องการรู้อะไร)
What we do (มีวิธีหาคำตอบอย่างไร)
What we Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)
ขั้นตอนการจัดการเรีนรู้ KWDL
1.เลือกบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้หรือโจทย์ปัญหาคณิตาศาสตร์ที่ต้องทำ
2.ทำตาราง KWDL ให้กับผู้เรียน
3.ถามผู้เรยนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กไหนดหรือโจทย์ฯแล้วบันทึก
4.ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องหรือโจทย์ต้องการรู้อะไร (W)
แล้วบันทึก
5.ให้ผู้เรียนบอกวิธีดำเนินการเพื่อหาคำตอบ (D) จากสิ่งที่ต้องการรู้หรือโจทย์ทใน
W
6.ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วอ่านบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หรือคำตอบคืออะไร
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWDL
1.นำมาใช้เพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
2.นำมาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3.นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะกระบวนการ
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWDL
3.KWDL
What to know (รู้อะไรบ้าง)
What we want to know (ต้องการรู้อะไร)
What we do (มีวิธีหาคำตอบอย่างไร)
What we Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)
ขั้นตอนการจัดการเรีนรู้ KWDL
1.เลือกบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้หรือโจทย์ปัญหาคณิตาศาสตร์ที่ต้องทำ
2.ทำตาราง KWDL ให้กับผู้เรียน
3.ถามผู้เรยนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กไหนดหรือโจทย์ฯแล้วบันทึก
4.ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องหรือโจทย์ต้องการรู้อะไร (W)
แล้วบันทึก
5.ให้ผู้เรียนบอกวิธีดำเนินการเพื่อหาคำตอบ (D) จากสิ่งที่ต้องการรู้หรือโจทย์ทใน
W
6.ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วอ่านบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หรือคำตอบคืออะไร
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWDL
1.นำมาใช้เพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
2.นำมาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3.นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะกระบวนการ
4.KWLH
Know (รู้อะไรบ้าง)
What to learn (ต้องการรู้อะไร)
What they learn as they read (รู้อะไรบ้างจากการเรียน)
How we can Learned more (จะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWLH
1. กําหนดคําหรือเรื่องที่ต้องการจัดการเรียนรู้
2. ทําตาราง KWLH ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้
แล้วบันทึก
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้ (W) แล้วบันทึก
5. ให้ผู้เรียนอ่านเรื่องราวจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้แล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้างหลังการอ่าน(L)
6. ให้นักเรียนระบุว่าจะหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยวิธีใด (H)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWLH
1. นํามาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระ
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3. นํามาใช้พัฒนาทักษะการอ่านได้
4. นํามาใช้ในการให้ผู้เรียนรู้จักวางแผนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWLH
ลักษณะสําคัญ
คือ ใช้รูปภาพที่สอดคล้องกับสาระวัตถุประสงค์
และวัยของผู้เรียนเป็นสื่อที่ นําไปสู่ การรู้คําศัพท์ วลี ประโยค ข้อความ
จนถึงการอ่านและการเขียนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยมีการฝึก ซ้ําๆ เป็นปริมาณมากๆ
และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด และหลักการด้วยตนเอง
ด้วยวิธีคิดแบบอุปนัย และที่สําคัญเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากตัวผู้เรียน
วิธีดําเนินการ
1. เริ่มต้นด้วยการใช้รูปภาพที่ประกอบด้วยวัตถุ สิ่งของ ฉาก เหตุการณ์
สถานการณ์ (ที่นักเรียนรู้จักคุ้นเคย) ให้นักเรียนสังเกต ช่วยกันระบุคําต่างๆ
เหตุการณ์ การปฏิบัติที่ปรากฏ ในรูปภาพ (Words and Actions)
2. ครูโยงภาพกับคําศัพท์ หรือคําที่นักเรียนเสนอ นักเรียนพูดออกเสียงและสะกดคําที่ได้
จากภาพ โดนครูคอยแนะนําแก้ไขให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
3. นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มคํา หรือจัดประเภทคํา หรือคําศัพท์ที่ระบุจากภาพ
(ความคิด รวบยอด มีการจําแนก จัดกลุ่ม
ขึ้นอยู่กับวัยและระดับประสบการณ์ของนักเรียน)
4. นักเรียนฝึกเขียนวลี แต่งประโยคจากคําศัพท์ต่างๆ
5. นักเรียนฝึกเขียนข้อความ ย่อหน้า และเขียนเรื่องจากภาพ ใช้การฝึกอย่างน้อย
20 ครั้ง/เรื่อง
บรรณานุกรม
https://honeylamon.wordpress.com/วิธีการสอน-2/วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา/
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121833/innovation/index.php/2014-02-21-08-22-26
http://www.neric-club.com/data.php?page=9&menu_id=76
https://nursemoobin.wordpress.com/วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์/วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์/
http://034sasang.blogspot.com/2015/08/normal-0-false-false-false-en-us-x-none.html
http://www.chaiyatos.com/M.2_5.html
http://inkfha.blogspot.com/2015/08/253087-88-1.html
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121731/innovation/index.php/2014-02-04-14-27-11
https://beebeecom.wordpress.com/วิธีการสอนแบบสาธิต/วิธีการสอนแบบอภิปราย-discussion-method/
www.neric-club.com/data.php?page=27&menu_id=76
http://chok3520.blogspot.com/2016/10/micro-teaching.html
http://kannikamedia.blogspot.com/2013/12/project-approach.html
http://kongkhun.blogspot.com/2015/07/blog-post.html
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121817/innovation/index.php/leaning
http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les231.htm
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น