สัปดาห์ 1 บทที่ 1 (1-3)


ประมวลรายวิชา


๑. คำอธิบายรายวิชา
              ความหมาย กระบวนการของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน การพัฒนารูปแบบการ
เรียนการสอนมนศตวรรษที่ ๒๑ สภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในประเทศไทย การวิเคราะห์ ผู้เรียนและวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การพัฒนาและเลือกใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและเทคนิควิทยาการการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้
ระดับต่างๆ

๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้ใน ปัจจุบัน                                                                                                                                                       
๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่างๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้เกิดการเรียนรู้ได้ดี   ๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและวิชาชีพครู โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                    
๔.เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ และการเลือกสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ การจัดแผนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓.เนื้อหาวิชาที่กำหนดให้เรียน 
บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้                                                                                                
         ๑.๑ ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้                                                                                
         ๑.๒ นิยามการออกแบบและการจัดการเรียนรู้                                                                                                                 
         ๑.๓ ประโยชน์ของการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้                                                                                                       
         ๑.๔ แบบจำลองการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป                                                                                                
         ๑.๕ บทบาทของผู้ออกแบบ และการจัดการเรียนรู้                                                                                                          
         ๑.๖ งานและผลผลิตสมรรถภาพ ของการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้

บท ที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                            
          ๒.๑ วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                                                            
          ๒.๒ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                                       
          ๒.๓ เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการส อน                                                                 
          ๒.๔ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                                              
          ๒.๕ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน                                                                                                                                     
๓.๑ รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล                                                                                                                       
๓.๒ รูปแบบการเรียนการสอน และกระบวนการเรียนการสอน ปกติ                                                                                   
๓.๓ กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

บท ที่ ๔ กลยุทธ์การเรียนการสอน                                                                                                                                       
          ๔.๑ สภาวการณ์เรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอน                                                        
          ๔.๒ความต้องการ ทฤษฎีการเรียนการสอน                                                                                                                       
          ๔.๓ ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน                                                                                                                      
          ๔.๔ ทฤษฎีการเรียนการสอน                                                                                                                                              
          ๔.๕ หลักการเรียนรู้                                                                                                                                                        
          ๔.๖ การวิจัยการเรียนรู้                                                                                                                                                     
          ๔.๗ ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียน                                                                                                                               
          ๔.๘ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง                                                                                                         
          ๔.๙ รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

บทที่ ๕ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา                                                                                                 
         ๕.๑ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวปฏิรูปการศึกษา                                                                                          
         ๕.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา                                                                                                 
         ๕.๓ การปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                      
         ๕.๔ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                         
         ๕.๕ บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

บทที่ ๖ การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน                                                                                                                
         ๖.๑ บทบาทของผู้ออกแบบ                                                                                                                                            
         ๖.๒ ประเภทของสื่อ                                                                                                                                                  
         ๖.๓ การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ

บทที่ ๗ การวางแผนการเขียนแผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้                                                                                 
         ๗.๑ ความหมายของการวางแผนการสอน                                                                                                                            
         ๗.๒ ความจำเป็นของการวางแผนการสอน                                                                                                                    
         ๗.๓ ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน                                                                                                             
         ๗.๔ แนวทางการวางแผนการสอน                                                                                                                                   
         ๗.๕ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้                                                                                                                                  
          ๗.๖ แผนการจัดการเรียนรู้                                                                                                                                             
      ๗.๗ การวัดและการประเมินผล


ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน

การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการวิจัยและพัฒนาสื่อที่ใช้สำหรับฝึกอบรมกกำลังคนที่ทำงานในด้านต่างๆในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมามีความตื่นตัวในการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมทำให้งานด้านการออกแบบการเรียนการสอนเป็นงานที่ได้รับความสนใจมากขึ้นผู้ที่ทำงานในด้านการออกแบบการเรียนการสอนในช่วงปี ค.ศ.1970 ได้แก่ บุคคลที่เรียกตัวเองว่านักจิตวิทยาการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ หรือนักออกแบบการฝึกอบรม คำว่า การออกแบบการเรียนการสอน” เพิ่งจะน ามาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ.1980 และเริ่มต้นในภาคเอกชนที่อยู่ในสายธุรกิจและอุตสาหกรรมกอนที่จะเข้ามาสู่ภาครัฐ เช่น ในงานด้านการสาธารณสุขการศึกษาและการทหารสำหรับประเทศไทย คำว่า การออกแบบการเรียนการสอน เป็นคำที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก (พ.ศ. 2540-2550) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยคุรุสภา (2556) ได้กำหนดให้การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพของครูจะเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้มีความสำคัญมากขึ้นซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งการศึกษาของไทยและ

สากล ดังที่ ริชี เคลนและเทรซี (Richey,Klein,& Tracy,2011,p.1) กล่าวว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้กลายเป็นวิชาชีพหนึ่งเช่นเดียวกับที่เป็นศาสตร์การศึกษา สาขาหนึ่ง ในฐานะของวิชาชีพการออกแบบการเรียนการสอนผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะต้องมีความชำนาญในการทำงานหรือมีสมรรถนะของวิชาชีพที่ระบุไว้ชัดเจนในฐานะเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งการออกแบบการเรียนการสอนอาศัยการวิจัยและทฤษฎีเป็นฐานในการสร้างความรู้

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้
         หมายถึง การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือ สร้างบางสิ่งบางอย่างหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก่้แย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทั่วไป
         เมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการจัดการเรียนรู้จึงมีความหมายที่แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไป โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน การออกแบบทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล ทั้งสามส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา ดังนั้นจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและใช้ความชำนาญการ สิ่งที่นักออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงคือด้านประสิทธิผลหรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการประสิทธิภาพ
        ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
        ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ
        แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ   การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน
        สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์  การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
         กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1)ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
        โรว์แลนด์(Rowland, 1993 cited in Smith &Ragan, 1999 ) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนำทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่
2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนำไปใช้ได้และมีประโยชน์
3) งานพ้ืนฐานในการออกแบบการจัดการเรียนรู้คือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่
สารสนเทศในการออกแบบผลงาน
4) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการแกไ้ขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จำเป็น
ต้องผ่านการออกแบบ
6) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น กระบวนการแก้ปัญหาเป็นไดทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็น
ลำดับขั้น หรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
7) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นศาสตร์หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
8) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะทางเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ความเป็นเหตุผลและ
ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
9) กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนา

บทที่ 1
แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
        การออกแบบคืออะไร การออกแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ และทักษะอย่างกว้างขวางเพื่อที่จะแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อจำกัดที่มีอยู่ การออกแบบเกี่ยวข้องการระบุปัญหาและทำให้ปัญหากระจ่างประกอบไปด้วยการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และปรับปรงวิธีแก้ไขปัญหาแล้วเริ่มต้นออกแบบใหม่อีก

        ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เหตผลหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงตามความต้องการทางสังคม เหตุผลที่สองคือ การพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสามารถประยุุกต์เข้ากับผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมได้

        การออกแบบมีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากวิชาการที่ออกแบบสามารถมีผลกระทบต่อประชาชนได้ อย่างไรก็ตามนักออกแบบต้องให้ความสนใจกับประชาชนเป็นอย่างมากและเป็นอันดับแรก

        การออกแบบการเรียนการสอน เป็นกระบวนการของการป้องกันด้วการวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการเรียนการสอน โดยวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ สมรรถภาพที่ต้องการผู้ออกแบบการเรียนการสอนคือ พฤติกรรมที่มีการบรณาการและเกี่ยวข้องกับการกลั่นกรอง การวิเคราะห์ การจัดการ การสังเคราะห์ สารสนเทศ และเนื่องจากความหลากหลายในทักษะต่างๆ จึงมีวิธีทั่วไปอยู่สองวิธีในการสอนรายวิชา "การออกแบบการเรียนการสอน" คือ วิธีการตัดสินใจพื้นฐานที่ครูจะต้องสร้างขึ้นและนำไปใช้

       การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงความรู้ ผู้เรียนจะได้รับการคาดหวังว่า จะสามารถรู้หลักการการออกแบบการรียนการสอนได้

       การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงผลิตภัณฑ์ ผู้เรียนจะได้รับความคาดหวังว่า จะสามารถประยุกต์ใช้หลักการการออกแบบวัสดการเรียนการสอนได้

       การออกแบบการเรียนการสอนพัฒนามาตามวิธีการเชิงระบบในการพัฒนาการฝึกอบรมของกองทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดว่า การเรียนร้จะไม่เกิดขึ้นตามบุญตามกรรม แต่จะพัฒนากลมกลืนไปกับการเรียงลำดับของกระบวนการและมีผลที่ได้รับด้วย
       การพัฒนาสาขาวิชาของการออกแบบการเรียนการสอนมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นๆ คือ จิตวิทยา การติดต่อสื่อสาร การศึกษา และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และเมื่อสาขาวิชามีการขยายเติบโตขึ้นก็ต้องมีบทบาทของนักวิจัยและนักปฏิบัติการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยพื้นฐานของการวิจัย
       วิธีการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปประกอบด้วยขั้นตอนการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล คังนั้นกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนจึงรวมถึงการนิยามว่า ผู้เรยนควรจะเรียนรู้อะไร ะมีการวางแผนอย่างไร การเรียนรู้จงจะเกิดขึ้น และจะกลั่นกรองการเรียนการสอนอย่างไร จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์

1.ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
       คิดและคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอนจำนวน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นจะต้องมีปริญญาเทคโนโลยีการ เรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียน การสอนทุกระดับ (Disk and Carey 1985 : 8)
     งานของผ้นักออกแบบการเรียนการสอน คือ นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน วิธการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และใช้การวิจัยและความรู้จากทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่นๆ
      ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อ การพัฒนาปัจเจกบุคคล แะมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่าง ไร


2.นิยามของการออกแบบการเรียนการสอน

       ริตา ริชชีย์ (Rita Richey, 1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา การประเมินผลและการบำรงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชาทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน แต่ป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความร้
       ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นของระบบ และพิจารณาสภาพทั่วไปเกียวกับการเรียนการสอน ไชยยศ เรืองสุบรรณ ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบ ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีการสอน และการประเมิน โดยตั้งคำถามที่คล้ายคลึงกับคำถามของไทเลอร์ คือ 1.จะออกแบบพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใคร เป็นการพิจารณาคณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2.ต้องการให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน 3.ผู้เรียนจะเรียนรู้วิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน 4.จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการการประเมินผล
       ชีลล์และกลาสไกว์ ได้ นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเฉพาะที่ใช้การ เรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอน ในฐานะที่เป็นสาขาวิชาจะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎี ที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาความเฉพาะ เจาะจงนั้นๆแการออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง การสร้างสรรค์ความเฉพาะเจาะจงสำหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการ พัฒนา การประเมิน การบำรุงรักษาไว้ การเผยแพร่สถานการณ์เหล่านั้น คุณลักษณะสำคัญ ประการ ของการออกแบบการเรียนการสอน คือ 1.เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ 2.ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยและทฤษฎี 3.ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ 4. เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ปรสิทธิผลและราคา
         กาเย่ บริกส์ และวาเกอร์ ได้นิยามว่า ระบบการเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพยากรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบการเรียนการสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน
         การออกแบบการเรียนการสอน อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การออกแบบการเรียนรู้ (Learning Systems Designs : LSD) การเรียนการสอนแบบสมรรถภาพ (Competency-Based Instruction)
        อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการปัญหาการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่งเป็นระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายโดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี

3.ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
        การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้รับประโยชน์หรือได้รับกำไร นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุบรรณ ได้กล่าวไว้ว่า
1.ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกาาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความ มั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2.นักออกแบบการสอนย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสมารถอื่นๆที่จำเป็น รวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4.ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ
       ออร์แลนสกี และสตริง การออกแบบระบบการเรียนการสอน ว่า สามารถลดเวลาการเรียนการสอนรายวิชาเห่านั้นลงได้และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
       สมิธ ราแกน  คิดและคาเรย์ ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียน การสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน
 2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
 3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สม  เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน เกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
  5) การนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง
       นักออกแบบการเรียนการสอนเห็นว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอนจะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในกลวิธีการสอนเน้น ที่การเรียนการสอนรายบคคลเป็นส่วนใหญ่ และการประเมินผลที่เน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้ประเมินในลักษณะของการประเมินแบบอิงเกณฑ์

อ้างอิง
        หนังสือวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
        http://dept.npru.ac.th/edu2/data/files/การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน อ.สมจิต.pdf
        https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/prayochn-laea-khx-cakad-khxng-kar-chi-rabb-kar-reiyn-kar-sxn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สัปดาห์ที่ 12 บทที่ 6

บทที่ 6  การเลือกและการพัฒนาสื่อการสอน ความหมายของสื่อการเรียนการสอน               สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญใน...