ประมวลรายวิชา
๑. คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย
กระบวนการของการออกแบบและการจั ดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน
การพัฒนารูปแบบการ
เรี ยนการสอนมนศตวรรษที่ ๒๑
สภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกั บการเรียนรู้ในประเทศไทย การวิเคราะห์
ผู้เรียนและวิธีที่จะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
การกำหนดจุดประสงค์ของการเรี ยนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรี ยนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ ตามแนวพระราชดำริ
การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่ มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรี ยนรวม
การพัฒนาและเลือกใช้สื่อนวั ตกรรมเพื่อการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริ งและเทคนิควิทยาการการเรียนรู้
การจัดทำแผนการเรียนรู้
ระดับต่ างๆ
๒. วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่
๔.เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้
๓.เนื้อหาวิชาที่กำหนดให้เรียน
บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
๑.๑ ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
๑.๒ นิยามการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
๑.๓ ประโยชน์ของการออกแบบ
และการจัดการเรียนรู้
๑.๔ แบบจำลองการออกแบบ
และการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป
๑.๕ บทบาทของผู้ออกแบบ
และการจัดการเรียนรู้
๑.๖ งานและผลผลิตสมรรถภาพ
ของการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
บท ที่ ๒
วิธีการสอนและเทคนิคการจั ดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๑
วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ
๒.๒ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้ เรียนเป็นสำคัญ
๒.๓
เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรี ยนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจั ดการเรียนการส อน
๒.๔
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรี ยนเป็นสำคัญ
๒.๕
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรี ยนเป็นสำคัญ
บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน
๓.๑ รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็ นสากล
๓.๒ รูปแบบการเรียนการสอน
และกระบวนการเรียนการสอน ปกติ
๓.๓ กระบวนการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
บท ที่ ๔ กลยุทธ์การเรียนการสอน
๔.๑
สภาวการณ์เรียนการสอนพื้ นฐานของการเรียนการสอน
๔.๒ความต้องการ ทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๓ ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๔ ทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๕ หลักการเรียนรู้
๔.๖ การวิจัยการเรียนรู้
๔.๗ ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียน
๔.๘
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรี ยนเป็นศูนย์กลาง
๔.๙
รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจั ดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรี ยนเป็นศูนย์กลาง
บทที่ ๕
การจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๕.๑ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้
ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
๕.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้
ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
๕.๓ การปฏิรูปการเรียนรู้
ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕.๔ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจั ดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ
๕.๕
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกั บการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิ รูปการศึกษา
บทที่ ๖
การเลือกและพัฒนาสื่อการเรี ยนการสอน
๖.๑ บทบาทของผู้ออกแบบ
๖.๒ ประเภทของสื่อ
๖.๓ การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
บทที่ ๗ การวางแผนการเขียนแผนการสอน
และแผนการจัดการเรียนรู้
๗.๑ ความหมายของการวางแผนการสอน
๗.๒ ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
๗.๓
ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ ในการวางแผนการสอน
๗.๔ แนวทางการวางแผนการสอน
๗.๕ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
๗.๖ แผนการจัดการเรียนรู้
๗.๗ การวัดและการประเมินผล
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการวิจัยและพัฒนาสื่อที่ใช้สำหรับฝึกอบรมกกำลังคนที่ทำงานในด้านต่างๆในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
และต่อมามีความตื่นตัวในการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมทำให้งานด้านการออกแบบการเรียนการสอนเป็นงานที่ได้รับความสนใจมากขึ้นผู้ที่ทำงานในด้านการออกแบบการเรียนการสอนในช่วงปี
ค.ศ.1970 ได้แก่ บุคคลที่เรียกตัวเองว่านักจิตวิทยาการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ
หรือนักออกแบบการฝึกอบรม คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน”
เพิ่งจะน ามาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ.1980 และเริ่มต้นในภาคเอกชนที่อยู่ในสายธุรกิจและอุตสาหกรรมกอนที่จะเข้ามาสู่ภาครัฐ
เช่น ในงานด้านการสาธารณสุขการศึกษาและการทหารสำหรับประเทศไทย คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เป็นคำที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก
(พ.ศ. 2540-2550) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยคุรุสภา (2556)
ได้กำหนดให้การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพของครูจะเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้มีความสำคัญมากขึ้นซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งการศึกษาของไทยและ
สากล ดังที่ ริชี
เคลนและเทรซี (Richey,Klein,&
Tracy,2011,p.1) กล่าวว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้กลายเป็นวิชาชีพหนึ่งเช่นเดียวกับที่เป็นศาสตร์การศึกษา
2 สาขาหนึ่ง ในฐานะของวิชาชีพการออกแบบการเรียนการสอนผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะต้องมีความชำนาญในการทำงานหรือมีสมรรถนะของวิชาชีพที่ระบุไว้ชัดเจนในฐานะเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งการออกแบบการเรียนการสอนอาศัยการวิจัยและทฤษฎีเป็นฐานในการสร้างความรู้
การออกแบบและการจัดการเรียนรู้
หมายถึง
การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือ
สร้างบางสิ่งบางอย่างหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก่้แย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทั่วไป
เมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการจัดการเรียนรู้จึงมีความหมายที่แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไป
โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง
มุ่งเน้นเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน
การออกแบบทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล
ทั้งสามส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน
เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา
ดังนั้นจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและใช้ความชำนาญการ
สิ่งที่นักออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงคือด้านประสิทธิผลหรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการประสิทธิภาพ
ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ
กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ
โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้
อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow,
1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน
คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้
การเรียนการสอนมีคุณภาพ
แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh &
Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ การออกแบบการเรียนการสอน คือ
กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของผู้เรียน
สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2)
ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ
กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ
อุปกรณ์ การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné,
Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย
ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์
ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน
หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี
ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
โรว์แลนด์(Rowland, 1993 cited in Smith
&Ragan, 1999 ) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้
ดังนี้
1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนำทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่
2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนำไปใช้ได้และมีประโยชน์
3) งานพ้ืนฐานในการออกแบบการจัดการเรียนรู้คือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่
สารสนเทศในการออกแบบผลงาน
4) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการแกไ้ขปัญหา
แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จำเป็น
ต้องผ่านการออกแบบ
6) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น กระบวนการแก้ปัญหาเป็นไดทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็น
ลำดับขั้น
หรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
7) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นศาสตร์หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
8) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะทางเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ความเป็นเหตุผลและ
ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
9) กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาฃ
บทที่
1
แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบคืออะไร การออกแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้
และทักษะอย่างกว้างขวางเพื่อที่จะแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อจำกัดที่มีอยู่
การออกแบบเกี่ยวข้องการระบุปัญหาและทำให้ปัญหากระจ่างประกอบไปด้วยการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
และปรับปรงวิธีแก้ไขปัญหาแล้วเริ่มต้นออกแบบใหม่อีก
ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เหตผลหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงตามความต้องการทางสังคม เหตุผลที่สองคือ
การพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสามารถประยุุกต์เข้ากับผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมได้
การออกแบบมีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
เนื่องจากวิชาการที่ออกแบบสามารถมีผลกระทบต่อประชาชนได้
อย่างไรก็ตามนักออกแบบต้องให้ความสนใจกับประชาชนเป็นอย่างมากและเป็นอันดับแรก
การออกแบบการเรียนการสอน เป็นกระบวนการของการป้องกันด้วการวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการเรียนการสอน
โดยวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
สมรรถภาพที่ต้องการผู้ออกแบบการเรียนการสอนคือ
พฤติกรรมที่มีการบรณาการและเกี่ยวข้องกับการกลั่นกรอง การวิเคราะห์ การจัดการ
การสังเคราะห์ สารสนเทศ และเนื่องจากความหลากหลายในทักษะต่างๆ
จึงมีวิธีทั่วไปอยู่สองวิธีในการสอนรายวิชา "การออกแบบการเรียนการสอน"
คือ วิธีการตัดสินใจพื้นฐานที่ครูจะต้องสร้างขึ้นและนำไปใช้
การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงความรู้ ผู้เรียนจะได้รับการคาดหวังว่า
จะสามารถรู้หลักการการออกแบบการรียนการสอนได้
การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงผลิตภัณฑ์ ผู้เรียนจะได้รับความคาดหวังว่า
จะสามารถประยุกต์ใช้หลักการการออกแบบวัสดการเรียนการสอนได้
การออกแบบการเรียนการสอนพัฒนามาตามวิธีการเชิงระบบในการพัฒนาการฝึกอบรมของกองทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่
2 ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดว่า
การเรียนร้จะไม่เกิดขึ้นตามบุญตามกรรม
แต่จะพัฒนากลมกลืนไปกับการเรียงลำดับของกระบวนการและมีผลที่ได้รับด้วย
การพัฒนาสาขาวิชาของการออกแบบการเรียนการสอนมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นๆ
คือ จิตวิทยา การติดต่อสื่อสาร การศึกษา และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
และเมื่อสาขาวิชามีการขยายเติบโตขึ้นก็ต้องมีบทบาทของนักวิจัยและนักปฏิบัติการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยพื้นฐานของการวิจัย
วิธีการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปประกอบด้วยขั้นตอนการวิเคราะห์
การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล
คังนั้นกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนจึงรวมถึงการนิยามว่า
ผู้เรยนควรจะเรียนรู้อะไร ะมีการวางแผนอย่างไร การเรียนรู้จงจะเกิดขึ้น
และจะกลั่นกรองการเรียนการสอนอย่างไร จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์
1.ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
คิดและคาเรย์
กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด
โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอนจำนวน 12 คน
ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นจะต้องมีปริญญาเทคโนโลยีการ
เรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียน
การสอนทุกระดับ (Disk and Carey 1985 : 8)
งานของผ้นักออกแบบการเรียนการสอน คือ
นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน
วิธการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ
และใช้การวิจัยและความรู้จากทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่นๆ
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า
ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อ
การพัฒนาปัจเจกบุคคล
แะมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่าง ไร
2.นิยามของการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชีย์ (Rita Richey, 1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า
หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา
การประเมินผลและการบำรงรักษาสถานการณ์
หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชาทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย
การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน
แต่ป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความร้
ไชยยศ
เรืองสุวรรณ ได้นิยามว่า
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย
จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นของระบบ
และพิจารณาสภาพทั่วไปเกียวกับการเรียนการสอน ไชยยศ เรืองสุบรรณ
ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีการสอน และการประเมิน
โดยตั้งคำถามที่คล้ายคลึงกับคำถามของไทเลอร์ คือ 1.จะออกแบบพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใคร
เป็นการพิจารณาคณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2.ต้องการให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร
หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน 3.ผู้เรียนจะเรียนรู้วิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร
เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน 4.จะรู้ได้อย่างไรว่า
ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการการประเมินผล
ชีลล์และกลาสไกว์ ได้ นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา
ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเฉพาะที่ใช้การ
เรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอน
ในฐานะที่เป็นสาขาวิชาจะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎี
ที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาความเฉพาะ
เจาะจงนั้นๆแการออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง
การสร้างสรรค์ความเฉพาะเจาะจงสำหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการ พัฒนา
การประเมิน การบำรุงรักษาไว้ การเผยแพร่สถานการณ์เหล่านั้น คุณลักษณะสำคัญ 4
ประการ ของการออกแบบการเรียนการสอน คือ 1.เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ
2.ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยและทฤษฎี
3.ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ 4.
เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ปรสิทธิผลและราคา
กาเย่ บริกส์ และวาเกอร์ ได้นิยามว่า
ระบบการเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพยากรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้
ระบบการเรียนการสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน
การออกแบบการเรียนการสอน อาจเรียกได้หลายชื่อ
เช่น การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD)
การออกแบบการเรียนรู้ (Learning Systems Designs : LSD) การเรียนการสอนแบบสมรรถภาพ (Competency-Based Instruction)
อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง
กระบวนการปัญหาการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่งเป็นระบบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายโดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี
3.ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้รับประโยชน์หรือได้รับกำไร นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุบรรณ ได้กล่าวไว้ว่า
1.ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกาาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความ มั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2.นักออกแบบการสอนย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสมารถอื่นๆที่จำเป็น รวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4.ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ
ออร์แลนสกี และสตริง การออกแบบระบบการเรียนการสอน ว่า สามารถลดเวลาการเรียนการสอนรายวิชาเห่านั้นลงได้และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
สมิธ ราแกน คิดและคาเรย์ ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียน การสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน
2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สม เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน เกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
5) การนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง
นักออกแบบการเรียนการสอนเห็นว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอนจะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในกลวิธีการสอนเน้น ที่การเรียนการสอนรายบคคลเป็นส่วนใหญ่ และการประเมินผลที่เน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้ประเมินในลักษณะของการประเมินแบบอิงเกณฑ์
การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้รับประโยชน์หรือได้รับกำไร นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุบรรณ ได้กล่าวไว้ว่า
1.ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกาาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความ มั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2.นักออกแบบการสอนย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสมารถอื่นๆที่จำเป็น รวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4.ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ
ออร์แลนสกี และสตริง การออกแบบระบบการเรียนการสอน ว่า สามารถลดเวลาการเรียนการสอนรายวิชาเห่านั้นลงได้และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
สมิธ ราแกน คิดและคาเรย์ ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียน การสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน
2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สม เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน เกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
5) การนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง
นักออกแบบการเรียนการสอนเห็นว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอนจะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในกลวิธีการสอนเน้น ที่การเรียนการสอนรายบคคลเป็นส่วนใหญ่ และการประเมินผลที่เน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้ประเมินในลักษณะของการประเมินแบบอิงเกณฑ์
อ้างอิง
หนังสือวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
http://dept.npru.ac.th/edu2/data/files/การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน อ.สมจิต.pdf
https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/prayochn-laea-khx-cakad-khxng-kar-chi-rabb-kar-reiyn-kar-sxn
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น