วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 9 บทที่ 4

บทที่ 4 
กลยุทธ์การเรียนการสอน

ความหมายของกลยุทธ์การเรียนการสอน
         คำว่า “วิธีการสอน” “กลยุทธ์การสอน” และ”เทคนิคการสอน” ในบางครั้งมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน จนไม่สามารถบอกถึงคำจำกัดความที่ชัดเจนของแต่ละคำได้ เมื่อลองค้นคว้าถึงความหมายของคำหลักแต่ละคำพบว่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมาย ไว้ดังนี้
         วิธีการ หมายถึง วิธีปฏิบัติตามหลักการขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
         กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ,เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้
         เทคนิค หมายถึง ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้นๆ
นอกจากนี้ ทิศนา  แขมมณี ยังได้ให้นิยามของวิธีการสอน และเทคนิคการสอน ดังนี้
        “วิธีการสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเฉพาะหรือลักษณะเด่นที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ” (ทิศนา  แขมมณี, 2551 : 323)
        “เทคนิคการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน หรือการกระทำต่างๆ ในการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น” (ทิศนา  แขมมณี, 2551 : 386)
         ดังนั้น จากความหมาย และนิยามดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปได้ว่า 
         วิธีการสอน จะเป็นขั้นตอนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
         เทคนิคการสอน เป็นวิธีการเสริมที่จะช่วยให้วิธีการสอนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
         กลยุทธ์การสอน คือ วิธีการสอนที่ใช้เทคนิคการสอนมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ
         และสรุปเป็นสมการได้ดังนี้
         กลยุทธ์การสอน = วิธีการสอน + เทคนิคการสอน

1. สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ



บทนำ
          จะช้วยนำความตั้งใจของผู้เรียนไปสู้ภาระการงานการเรียนรู้ จูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยนช์ของการประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
การนำเสนอ  
           เป็นการนำเสนอสารสนเทศ ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการหรืิวิธีการให้กับผุ้เรยนตามแบบของการเรียนรู้ที่จะให้ประสบความสำเร็จ
การทดสอบตามเกณฑ์ 
           เป็นการวัดความสำเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์ปลายทาง
การปฏิบัติตามเกณฑ์
           เกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาคการทดสอบสุดท้ายโดยมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินใจผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะสอบปลายภาคหรือมีความจำเป็นต้อง เรียนซ่อมเสริม
การปฏิบัติในระหว่างเรียน
           เป็นการออกแบบช่วยผู้เรียนให้สร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างปฏิบัติกับการแสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอนกับพฤติกรรมที่กำหนดโดยจุดประสงค์ปลายทางสิ่งสำคัญที่ควรจดจำเกี่ยวกับการปฏิบัติในระหว่างเรียนคือเป็นความเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนเพื่อการแสดงออกซึ่งการปฏิบัติที่เป็นไปตามเกณฑ์
การแนะนำ
           เป็นการฝึกที่ฉับพลันที่ช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างถูกต้องในช่องต้นของการปฏิบัติพบว่าจะมีการช่วยเหลือมากและจะค่อยๆลดลงการช่วยเหลือจะอยู่ในช่วงปฏิบัติในระหว่างเรียนเท่านั้นส่วนในช่วงการปฏิบัติตามเกณฑ์ไม่ต้องช่วย
การให้ข้อมูลป้อนกลับ
           เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการปฏิบัติเพื่อที่จะบอกกับผู้เรียนว่าปฏิบัติถูกต้องหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องและจะปรับปรุงการปฏิบัตินั้นอย่างไรการปฏิบัติแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีข้อมูลป้อนกลับไม่เป็นเพียงสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

2. ความต้องการทางทฤษฎีการเรียนการสอน
          ทฤษฎีการเรียนการสอน เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้งการพัฒนาชุดสดีการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่และเลยและเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้แล้วคดีการเรียนรู้เกือบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลการเรียนการเขียนซึ่งจะดีของนักจิตวิทยาเห็นได้จากบทคัดย่อทางจิตวิทยาจะเต็มไปด้วยพฤติกรรม ทางการเรียนรู้และการเรียนรู้ภายในโรงเรียนเป็นจำนวนมากและมีเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวกับการสอนและในส่วนที่มีนี้ยังรวมอยู่ภายใต้ความของบุคลากรทางการศึกษาอีกด้วยหรือในการทำรายงานทางจิตวิทยาประจำ ปีโดย ปกติจะมีบทที่ว่าด้วยการเรียนรู้นานๆครั้ง ครั้งจึงจะพบเรื่องของการสอนเพียงเล็กน้อยหนังสือทั้งเล่มหลายเล่มอุทิศให้กับการเรียนรู้มีหนังสือจำนวนน้อยที่เกี่ยวกับทฤษฎีการสอนอย่างกว้างขวางตำราจิตวิทยาการศึกษาจะให้เนื้อที่กับการอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียนมากกว่าวิธีการสอนและครูครูต้องรู้จักจะจัดการกับพฤติกรรมของตนเองซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไรความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติในการอธิบายและการ ควบคุมการปฏิบัติการสอน

3. ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
           ทฤษฎีการเรียนการสอนเป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับควมปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้ดีที่สุดได้อย่างไรด้วยกรปรับปรงแทนที่จะพรรณนาการเรียนรู้
            ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนามีความสัมพันธ์กัทฤษฎีการเรียนการสอน ตามความเป็นจริงแล้วทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการพัฒนาดีเท่าๆกับเนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลท่ามกลางทฤษฎีอื่นๆที่มีอยู่หลากหาย ทุกทฤษฎีจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ
ประการแรก
            ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งถูกฝังปุ่มเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพหรือเป็นการเรียนรู้ที่สุดหรือเป็นการเรียนรู้ชนิดพิเศษตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาลซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน
ประการที่สอง
            ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้นั้นความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังในการทำสารสนเทศให้มีความง่ายและให้การข้อความใหม่เพื่อนที่ต้องพิสูจน์และเพื่อเพิ่มการถ่ายเทองค์ความรู้มีอยู่เสมอที่โครงสร้างต้องสัมพันธ์กับสถานภาพและพรสวรรค์ของผู้เรียนด้วย
ประการที่สาม
            ซึ่งจะดีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตัวอย่างเช่นผู้สอน คนนึงปรารถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่เขาทำอย่างไรเขานำเสนอสาระที่เป็นรูปประธรรมก่อนด้วยวิธีการให้ตั้งคำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับทฤษฎีที่ผู้เรียนต้องนำไปซึ่ง ทำให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการนำเสนอกฎนี้อีกครั้งในภายหลัง
ประการที่สี่
             ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วง 9 ของการให้รางวัลและการลงโทษในขบวนการเรียนรู้และการสอนในขณะที่ขบวนการเรียนรู้มีจุดดีกว่าที่จะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอกเช่นคำยกย่องสรรเสริญจากครูไปเป็นรางวัลภายในโดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเองดังนั้นการให้รางวัลทันทีใดควรแทนที่ ด้วยรางวัลของการปฏิบัติตามหรืออนุโลมตาม อันตการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงจากรางวัลภายนอกไปสู่รางวัลภายใน

4. ทฤษฎีการเรียนการสอน
            มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 4 ทฤษฏีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุททฤษฎีการเรียนกาสอนของเคสและทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา

           4.1 ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเยและบริกส์
ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย



          โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning)โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่า ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่อธิบายว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ  3  ส่วน  คือ
          ก.หลักการและแนวคิด
                     1)   ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ  ของมนุษย์   ซึ่งมีอยู่  5  ประเภท  คือ
                          – ทักษะทางปัญญา  (Intellectual  skill) ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะการ
สร้างความคิดรวบยอด   การสร้างกฎ   การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง 
                          –  กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive  strategy)
                          –  ภาษาหรือคำพูด (verbal  information)
                          –  ทักษะการเคลื่อนไหว (motor  skills)
                          –  และเจตคติ (attitude)
                      2)    กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลใน
สมอง ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระ
บวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณืภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อ
การส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนกาเย่จึงได้
เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะ
เฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อ
ต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน
         ข.วัตถุประสงค์
                เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ  ได้อย่างดี   รวดเร็ว  และสามารถจดจ
สิ่งที่เรียนได้นาน
         ค.กระบวนการเรียนการสอน              
                กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์   หลักการสอน  9  ประการ  ได้แก่
                1.เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
                กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียนการเร้าความสนใจ
ผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ  เช่น  การใช้ภาพกราฟิก  ภาพ
เคลื่อนไหว และ/หรือการใช้เสียงประกอบบทเรียนในส่วนบทนำ
                2.บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
                 การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ
การเรียนการสอนบนเว็บที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดย   การเลือกศึกษาเนื้อหาที่
ต้องการศึกษาได้เอง   ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียน
สามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง  อีกทั้งยังสามารถเลือกศึกษาเนื้อหาเฉพาะที่
ตนยังขาดความเข้าใจที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่ได้
กำหนดไว้
                3.ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
                การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นรูป
แบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธี  เช่น  กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม หรือ
การแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว  เป็นต้น                
                4.นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
                การนำเสนอบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน  คือ  การนำเสนอด้วย
ข้อความ รูปภาพ  เสียง   หรือแม้กระทั่ง วีดิทัศน์   อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็
คือผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้
เรียนมากที่สุด
                5.ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
                การชี้แนวทางการเรียนรู้  หมายถึง  การชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่
ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำ
มากยิ่งขึ้น
                6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
                นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมใน
กระบวนการเรียนการสอนโดยตรง   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้
เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ซึ่งอาจทำได้โดยการจัดกิจกรรมการสนทนาออนไลน์รูปแบบ 
Synchronous หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดในรูปแบบ  Asynchronous  เป็นต้น
                7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
                ลักษณะเด่นประการหนึ่งของการเรียนการสอนบนเว็บก็คือการที่ผู้สอนสามารถติดต่อ
สื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด   เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้นเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่าย
ทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล  และ
ด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา  ทำให้ผู้
สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก  
                8.ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
                การทดสอบความรู้ความสามารถผู้เรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง  เพราะทำให้
ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนมีต่อเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆ  การทด
 สอบความรู้ในบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบ   ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย 
 การจัดทำกิจกรรมการอภิปรายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเป็นต้น  ซึ่งการทดสอบนี้ผู้เรียนสามารถทำการ
ทดสอบบนเว็บผ่านระบบเครือข่ายได้
                9.สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
                การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติ
ของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญ ๆ   รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ   เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาส
ทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว   ในขณะเดียวกันบทเรียนต้องชี้แนะเนื้อ
หาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม   เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัด
ไปหรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป
ทฤษฎีการเรียนการสอนของบริกส์
               เลสลี่ บริกส์ (Leslie Briggs) เป็นนักการศึกษาที่สําคัญในวงการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียน การสอน ได้มีการดําเนินการออกแบบในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูแบบการเลือกใช้ สื่อการสอน ซึ่งได้มีการวางแผนเพื่อนําเอานวัตกรรมมาเผยแพร่ด้วย ระบบการเรียนการสอนของ Briggs เหมาะสําหรับการออกแบบ การเรียนการสอนในระดับหน่วยวิชา หรือระดับโปรแกรมการเรียนรายวิชา ซึ่งถ้า สามารถดําเนินการตามคําแนะนําทุกขั้นตอนแล้ว การใช้ระบบของ Briggs จะได้ผลดีโดยเฉพาะ ในการพัฒนา โปรแกรมการเรียนการสอนรายวิชา 


4.2 ทฤษฎีการสอนของเมอร์ริลไรเกลท (Merrill - Reigelath) 
           แสดงทัศนะว่าการสอนเป็นกระบวนการที่เสนอเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและต่อเนื่อง ดังนี้
          1.เลือกหัวข้อปฏิบัติทั้งหลายที่จะสอนด้วยการวิเคราะห์ภารกิจ
          2.ตัดสินใจว่าจะสอนข้อภารกิจใดเป็นอันดับแรก
          3.จัดลำดับก่อนหลังของข้อภารกิจที่เหลือ
          4.ชี้บ่งเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ
          5.จัดเนื้อหาเข้าบทเรียนและจัดลำดับบทเรียน
          6.จัดลำดับการสอนภายในบทเรียนต่าง ๆ
          7.ออกแบบการสอนในแต่ละบทเรียน
4.3 ทฤษฎีการสอนของเคส (Case) 
          ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
4.4 ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa) 
           เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้
           การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งผู้สอนมักนำทฤษฎีการสอนทั้ง 4 ประการมาประยุกต์ใช้ในการสอนของตน การจะเลือกใช้ทฤษฎีการสอนใดนั้นควรขึ้นกับจุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์การสอนและเนื้อหาการสอนแต่ละครั้งอาจใช้ทฤษฎีการสอนหลายประการผสมผสานกันก็ได้ และจากทฤษฎีการสอนนี้ครูอาจารย์ ผู้สอน วิทยากรที่มีหน้าที่สอน และให้มีการอบรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจมองเห็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนของตน

การพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียน
            การวิเคราะห์ภาระงานและการเรียนการสอนแล้วนั้นจะพบว่าการพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียนต้องอาศัยความรู้ที่มีอยู่ของผู้เรียนหรือความรู้เดิมซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจวางแผนการเริ่มต้นของโปรแกรมการเรียนการสอนมีใหม่ในที่นี้จะได้กล่าวถึงการประมวลสารสาระทาง ทักษะของผู้เรียน ซึ่งจะสัมพันธ์กับการออกแบบสิ่งแวดล้อมของการเรียน
สไตด์การสอน
            สไตด์หรือลีลาการสอนเป็นการแสดงคุณค่าของครู แต่ละคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้ครูคนนึงแตกต่างกันไปจากครูคนอื่นๆประกอบด้วยการแต่งกายภาษา เสียง กริยาท่าที ระดับพลัง การแสดงออกทางสีหน้าแรงจูงใจความสนใจในบุคคลอื่นความสามารถในการแสดงออกในการสอน
การมุ่งงาน
            ผู้จะกำหนดสิ่งต่างๆการเรียนรู้และการบอกถึงความต้องการในการปฏิบัติงานของนักเรียน การเรียนที่จะประสบผลสำเร็จอาจจะเฉพาะเจาะจงไปที่พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนและมีระบบที่จะให้นักเรียนแต่ละคนเป็นไปตามความคาดหวังอย่างชัดเจนน้ำมันคง
การวางแผนการร่วมมือกัน
           กู้ร่วมกันวางแผนวิธีการและจุดมุ่งหมายปลายทางของการเรียนการสอนด้วยความร่วมมือของนักเรียนครูไม่เพียงแต่จะรับความคิดเห็นเท่านั้นแต่กูต้องกระตุ้นให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกระดับชั้นด้วย
การให้นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง
           ครูจัดหาเตรียม โครงสร้างต่างๆสำหรับนักเรียนที่เพียงให้ติดตามแสวงหาความรู้ตามที่ต้องการหรือตามความสนใจอะไรแบบนี้ไม่เพียงแต่จะพบว่ามีน้อยแต่เกิดจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการไปเป็นไปตามที่คาดหวังเพราะว่าฉันเรียนที่มีอัตราส่วนระหว่างนักเรียนกับครูและนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมในความรับผิดชอบจะกระตุ้นส่งเสริมความสนใจของนักเรียนบางคนและทำให้นักเรียนบางคนเกิดความท้อแท้ในใจโดยอัตโนมัติ
 การให้เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง
          วิธีการนี้ครูจะเน้นไปที่เนื้อหาที่จัดไว้ดีแล้ว โดยกับผู้เรียนออกไป และเนื้อหาวิชาที่จัดนั้นควบคุมรายวิชาครูจะพึงพอใจแม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นน้อย
การให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง
          วิธีการมีคู่จะให้ความสำคัญเท่าเท่ากันระหว่างนักเรียนและจุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนสิ่งที่จะใช้ในการเรียนรู้จะปฏิเสธการเรียนอย่างมากเกินไปทั้งในด้านการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการให้เนื้อหาเป็นศูนย์กลางแทนการช่วยเหลือนักเรียนโดยไม่คำนึงว่านักเรียนมีความสามารถหรือไม่มีความสามารถ
สไตล์การเรียนรู้
          สไต์กการเรียนรู้ของนักเรียนมีลักษณะ ดังนี้ คือ สัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความกระหาย คนโง่ กระตุ้นตัวเอง อุตสาหะ บุกบั่น ฉลาดหลักแหลม และผู้สงสัย
แบบจำลองการสอน
          จอยส์และวีล ได้นิยามแบบจำลองการสอนว่า เป็นแผนสำหรับใช้ในการสอนจัดหลักสูตรเพื่อออกแบบวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และเพื่อแนะนำการเรียนการสอนในชั้นเรียนและข้อจำกัดอื่นๆ
          กันเตอร์ เอสเตและชว็อบ ได้อธิบายแบบจำลองการเรียนการสอนไว้ 8 แบบด้วยกันคือ การเรียนการสอนแบบนำทาง การบรรลุมดนทัศน์ การพัฒนามโนทัศน์ การคิดสร้างสรรค์ การสืบสวนของชุชแมน การอภิปรายในชั้นเรียน การเรียนแบบร่วมมือ การตรวจสอบความรู้สึก/ความตั้งใจแบบจำลองความขัดแย้ง
ทักษะการสอน
         ทักษะการสอน หมายถึง ความชำนาญในพฤติกรรมการสอนแต่ละอย่างของผู้สอนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การฝึกทักษะการสอนก็เพื่อให้ผู้ฝึกเกิดความคล่องแคล่วมั่นใจในการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองก่อนที่จะได้มีการสอนในชั้นเรียนทักษะสำคัญ ๆ ที่ผู้สอนทุกคนควรจะต้องฝึกปฏิบัติและคำนึงถึงในการสอนมี 9 ทักษะ ด้วยกัน คือ ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน การอธิบาย การใช้คำถาม การเสริมกำลังใจ ทักษะการสรุปบทเรียน ทักษะการเร้าความสนใจ ทักษะการใช้กระดานชอล์ก ทักษะการกระตุ้นให้คิด ทักษะการใช้สื่อการสอน  ซึ่ง   พฤติกรรมการสอนของผู้สอนในการใช้ทักษะการสอนต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อการช่วยสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอันมาก ทักษะแต่ละอย่างมีความสำคัญและสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการของเด็ก บทเรียน หรือวิธีสอนแต่ละอย่างได้
ทักษะสำคัญ ๆ ที่ผู้สอนทุกคนควรจะต้องฝึกปฏิบัติและคำนึงถึงในการสอนมี 9 ทักษะด้วยกัน คือ
1.  ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน (Set Induction)
2.  ทักษะการอธิบาย (Presentation)
3.  ทักษะการใช้คำถาม (Question)
4.  ทักษะการเสริมกำลังใจ (Reinforcement)
5.  ทักษะการสรุปบทเรียน (Set Closure)
6.  ทักษะการเร้าความสนใจ (Stimulation)
7.  ทักษะการใช้กระดานชอล์ก
8.  ทักษะการกระตุ้นให้คิด (Active Thinking)
9.  ทักษะการใช้สื่อการสอน (Media Presentation)
วิธีเริ่มเรื่องของครู
         การนำเข้าสู่บทเรียน  เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนควรจะกระทำเมื่อจะเริ่มกิจกรรมการสอนใดๆ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจและสร้างความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ถ้าจะเปรียบกับการเรียงความก็เสมือนเป็นคำนำหรือบทนำ การที่ผู้เรียนจะสนใจติดตามเรื่องราวหรือการสอนที่ผู้สอนนำเสนอหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอนได้นำเสนอสิ่งที่น่าดึงดูดความสนใจได้ดีหรือไม่ดี ส่วนวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดีหรือไม่ ถือเป็นศิลปะของผู้สอนนั้น ๆ ที่จะต้องฝึกฝนจนเกิดทักษะ  การนำเข้าสู่บทเรียนทำได้หลายวิธี เช่น ใช้การสนทนาซักถาม การทบทวนบทเรียนให้สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ การใช้เกม การตั้งปัญหาให้ร่วมกันอภิปราย การใช้สื่อการสอน โดยให้ดูภาพ ของจริง หรือดูวิดีทัศน์ เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอน
         สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, pp. 125-126) ได้เสนอหลักในการพิจารณาว่า ควรใช้ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นบทบาทของผู้เรียนหรือผู้สอนเป็นบทบาทนำในการเรียนการสอน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ลักษณะของผู้เรียน บริบทการเรียนรู้และงานเพื่อการเรียนรู้ โดยพิจารณาทีละตัวแปรดังนี้
         1. ลักษณะของผู้เรียน ถ้าองค์ประกอบด้านอื่น ๆ เท่ากัน พบว่าผู้เรียนที่มีลักษณะต่อไปนี้ ได้แก่ ระดับความรู้เดิม ความถนัดทางการเรียน กลวิธีการเรียนรู้ และความใส่ใจในการเรียนรู้ ถ้ามีมาก ควรใช้วิธีที่ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ แต่ถ้าผู้เรียนมีลักษณะต่อไปนี้คือ มีความวิตกกังวลมาก มีลักษณะ พึ่งพาปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลว เช่น การช่วยเหลือจากผู้อื่น ควรใช้วิธี ที่ผู้สอนมีบทบาทนำในการเรียนการสอน
        2. บริบทการเรียนรู้ ถ้าองค์ประกอบด้านอื่น ๆ เท่ากันพบว่า หากเวลาสำหรับการเรียนรู้ มีจำกัด เป้าหมายการเรียนรู้มุ่งที่ผลสัมฤทธิ์มากกว่าวิธีการเรียนรู้ ผู้เรียนทุกคนคาดหวังให้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ควรใช้วิธีที่ผู้สอนมีบทบาทชี้นำในการเรียนการสอน แต่หากเป้าหมาย การเรียนรู้คือวิธีการเรียนรู้ ควรใช้วิธีที่ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทนำในการเรียนรู้
        3. ภาระงานเพื่อการเรียนรู้ ถ้าองค์ประกอบด้านอื่น ๆ เท่ากันพบว่า หากเป็นภาระงานที่ เน้นการพัฒนาทักษะทางปัญญาระดับสูงหรือทักษะการแก้ปัญหา ควรให้ผู้เรียนมีบทบาทนา หากปัญหา มีความซับซ้อนมากผู้สอนควรเข้าไปมีบทบาทชี้แนะช่วยเหลือ หากงานที่มอบหมายอาจทำให้เกิด อันตรายแก่ร่างกาย กระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก หรือต้องใช้สมรรถภาพระดับสูงจำเป็นต้องให้ผู้สอน เข้าไปมีบทบาทชี้นำในการเรียนการสอน  อย่างไรก็ดี การจัดการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทนำให้มากที่สุด ยกเว้นหากมีข้อจำกัดดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะและมีความ เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของตนเอง
การนำเสนอการสอน
          หลังจากที่ได้วางแผนและจัดรูปแบบกาเรียนการสอนแล้วครูจะดำเนินการชี้นำประสบการณ์ในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในชั้นเรียน การแนะนำเป็นการนำเสนอเป็นการแนะนำสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์และหลักการใช้กับผู้เรียน ความต้องการในการนำเสนอของครูต่อผุ้เรียนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยุ้กับลักษณะขงการเรียนรู้ที่ต้องการ คความสำเร็จของพฤติกรรมระดับความพร้อมที่จะรับการสอของผู้เรียน

5. หลักการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้
            การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของตามจุดประสงค์ แปลโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ๆเข้ากันจากการเรียนรู้เดิมการจัด การนำเสนอนี้จะมูกให้เห็นเหตุการณ์และระหว่างมีการนำสารสนเทศเข้ามาก็ผ่านสิ่งมโนทัศน์หลักการหรือวิธีการไปสู่นักเรียนข้อกำหนดของการนำเสนอจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดมพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน
การแนะนำบทเรียน
            การแนะนำบทเรียนเป็นกิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการเรียนการสอนคือทำให้ผู้ตั้งใจเรียนและผู้เรียนเตรียมพร้อมไปสู่การปฏิบัติในการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
การนำเสนอเนื้อหาใหม่
            เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริงมโนทัศน์และกรดหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับมีแบบของโครงสร้างจะทำให้มีความหมายต่อผู้เรียนการจัดสานสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและกระจัดเนื้อหาที่สับสนออกไปไม่เกี่ยวข้องออกไปจากการเรียน
การฝึกปฏิบัติ
            การฝึกปฏิบัติการเรียนรู้เป็นกระบวนการการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากเมื่อผู้เรียนได้มีการผลิตมีการปฏิบัติหรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นานและให้ความสะดวกในการระลึกได้
การปฏิบัติที่เปิดเผยหรือไม่เปิดเผย
            การปฏิบัติอาจเป็นได้ทั้งการตรวจตอบสนองอย่างเปิดเผยและไม่เปิดเผยการตอบสนองแบบเปิดเผยเช่นการเขียนคำตอบการแสดงวิธีการการกล่าวคำหรือวลีซึ่งเป็นสิ่งที่สังเกตได้ส่วนการตอบสนองได้เปิดเผยเช่นการคิดคำตอบการปฏิบัติทางสมองสมองเกี่ยวกับโซ่ของคำพูดที่จะออกมาเป็นคำบรรยายหรือท่องปักษ์ใต้หรือความเงียบในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากการเลือกต่างๆขบวนการเหล่านี้ซึ่งสังเกตไม่ได้   ตารางการฝึกปฏิบัติโดยทั่วไปอย่างผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองมากเท่าไรการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้นโอกาสในการฝึกปฏิบัติไม่ควรจะมากในช่วงเวลาเดียวการท่องหนังสือเพียงการสอบเป็นตัวอย่างการปฏิบัติที่มีมากในครั้งเดียวการทอดหนังสือหรืออาจให้ผลในการทำงานแบบทดสอบได้คะแนนสูงแต่อาจลืมเนื้อหาวิชาได้อย่างรวดเร็วในการที่จะคงทนความจำในเนื้อหาวิชาไว้นานควรฝึกปฏิบัติควรกระจ่างไปตามช่วงเวลานั้นทั้งหมดและมีช่วงเวลาการพัก ระหว่างช่วงด้วย จำเป็นสำหรับการเรียนรู้เรื่องยาวๆและจำเป็นสำหรับภาระงานและทักษะที่ยาก
การปฏิบัติเชิงเปลี่ยนแปลง
           เป็นสะพานข้ามช่องระหว่าง พฤติกรรมระดับความพร้อมที่จะรับการสอนและการปฏิบัติตามเกณฑ์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการเรียนรู้ที่เพิ่มจากระดับความพร้อมที่จะรับการสอนไปถึงเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติให้ได้เป็นความตั้งใจที่จะจัดเตรียมผู้เรียนล่วงหน้าในการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ ที่ผู้เรียนสามารถจะรับได้

6. การวิจัยการเรียนรู้
               การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนรู้การสอนเฝ้าดูงานวิจัยที่จัดสิทธิ์ตัดสินใจว่าเงื่อนไขจะทำอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในฐานะการที่คล้ายคลึงกับตนเผชิญอยู่นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมได้ใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลภายใน สถานที่กรณีหากหลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกๆเกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบนักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของ คนจำนวนมากแต่สิ่งสำคัญที่สุด และเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้คือ การทดสอบ ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุ และผลที่ได้รับ
              แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน  เนื้อหาส่วนใหญ่ของการวิจัยกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากการจัดการของ ริชชี่ ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้เรียน เนื้อหาวิชา สิ่งแวดล้อม และระบบการสอน
            ข้อมูลป้อนกลับ อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลง คือ การให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่การตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง การรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้อง

7. ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
               การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการคือ ประการแรกความสามารถของผู้เรียน
ประการที่สองระดับของแรงจูงใจ และ ประการสุดท้ายธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้มีขบวนการ ดังนี้ คือ
1. แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2. เป้าประสงค์ทำให้มีความสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
3. ผู้เรียนแสวงหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา   
4. ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
5. การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
จิตพิสัย
              การเรียนรู้ทางเจคติพาดพิงถึงคุณลักษณะอาการของอารมณ์การเรียนรู้เกี่ยวข้องการว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเองและเป็นการพิจารณาความสนใจความซาบซึ้ง เจ คติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย
             เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการคล่องแคล่วการเคลื่อนไหวอย่างไรเมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไรและมีทักษะที่ต้องมีก่อนมีความแข็งแรงและวุฒิภาวะ และอื่นๆ
สังคมพิสัย
             ที่ใสมีความใกล้เคียงและสัมพันธ์กับจิตพิสัยและเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลและทักษะการปฏิบัติสัมพันธ์ทางสังคม ซิงเกอร์ และคิดได้สรุปสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ใส่ไว้ 4 ประการดังนี้คือประการแรกความประพฤติการปฏิบัติ ประการที่ 2 ความมั่นคงทางอารมณ์ประการที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและประการสุดท้ายการรู้จักเติมเต็มตนให้สมบูรณ์
องค์ประกอบการเรียนรู้
             ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 5 ประการ คือ
1.ตัวผู้เรียน ซึ่งหมายถึง วุฒิภาวะและความพร้อม อายุ เพศ ประสบการณืเดิม สมรรถวิสัย ความบกพร่อง การจงใจ สติปัญญา และอารมณ์
2.บทเรียน ประกอบด้วย ความยากง่าย ความหมาย และความยาวของบทเรียน
3.วิธีการเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรม สิ่งจูงใจ คำแนะนำและการแนะแนว
4.การถ่ายโยงการเรียนรู้
5.องค์ประกอบจากสิ่งต่างๆ

8.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
              การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (อังกฤษ: Student-centered learning หรือ Child-centered learning) เป็นวิธีการซึ่งช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อันก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการเรียนรู้นี้จะช่วยเพิ่มบทบาทของผู้เรียนภายในห้องเรียน และลดบทบาทการบรรยายหน้าห้องเรียนลง ซึ่งผู้สอนจะปรับบทบาทจากการบรรยายเป็นหลักเป็นการเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยจะต้องเตรียมสภาพห้องเรียนและวิธีการสอนที่เอื้อต่อแนวคิดนี้[3] ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยให้มีพัฒนาการของผู้เรียนสูงที่สุด
แนวคิด
             1.ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
             2.เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
             3.การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จ ถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วม
             4.สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์
             5.ครูเป็นมากกว่าผู้สอน
             6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตัวเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
             7.การศึกษาดชเป็นการพัฒนาประสบการณืการเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
             8.ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
             9.ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
             10.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย
             11.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
             12.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตัวเอง
             13.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
             14.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ก่อให้เกิดการพัฒนามโนทัศน์ของตน
             15.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการเสาะแสวงหาความสามรถพิเศษของผู้เรียน
             16.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นวิธีการที่ดีจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน

9.รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
             ในชั้นเรียนหนึ่งๆจะมีวามแตกต่างระหว่างบุคคลอยู่มาก ไม่มีใครสองคนที่เหมือนกันทุกประการ แม้กระทั่งลูกแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน และผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีสไตล์การเรียนรู้ที่เป็นของตนเอง และมีความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้ง 4 แบบ เพื่อให้ผู้เรียนเรีนรู้อ่างมีความสุข สนุกสนานและีส่วนร่วมในรูปแบบการเรียนรู้ที่ถนัด ทั้งยังมีการพัฒนาความสามารถในด้านอื่นๆที่ตนไม่ถนีชัดอีกด้วยวิธีการเรียนรู้แบบอื่นๆ
การสอนโดยใช้วิธีบทบาทสมมุติ
             การแสดงบทบาทสมมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบกับสถานการณ์จริงในสภาพของการสมมติ   ขึ้นมา  ทั้งนี้เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ
             การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ  (Role Playing)  คือ  เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น  นั่นคือแสดงบทบาทที่กำหนดให้  การแสดงบทบาทสมมติมี  2  ลักษณะ  คือ
             1.ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่น โดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเองหรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อนหรือเป็นบุคคลสมมติ
             2.ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผนพฤติกรรมของตน  แต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต  บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ
             บทบาทสมมติที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบันนี้  แยกได้เป็น  3  วิธี  ดังนี้
              1.การแสดงบทแสดงละคร  วิธีนี้ผู้ที่จะแสดงต้องฝึกซ้อมแสดงท่าทางตามบทที่กำหนดขึ้นไว้แล้ว  เช่น  การแสดงละครเรื่องที่เกี่ยวกับบทเรียนในหนังสือเรียนภาษาไทย  ผู้แสดงบทบาทสมมติแบบละคร  จะต้องพูดตามบทบาทที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น
              2.การแสดงบทบาทสมมติแบบไม่มีบทเตรียมไว้  ผู้แสดงต้องไม่ฝึกซ้อมมาก่อนเรียนไปถึงเรื่องใดตอนใดก็ออกมาแสดงได้ทันที  โดยแสดงไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง  เช่น  แสดงเป็นบุคคลต่างๆ  ในชุมนุมชน  เป็นหมอ  เป็นทหาร  เป็นตำรวจ  นักเรียนได้คิด  ได้พูดและแสดงพฤติกรรมจากความรู้สึกนึกคิดของเขาเอง
              3.การใช้บทบาทสมมติแบบเตรียมบทไว้พร้อม  ผู้สอนได้เตรียมบทมาไว้ล้วงหน้าบอกความคิด  รวบยอดให้ผู้แสดงทราบ  ผู้แสดงอาจต้องแสดงตามบทบาทบ้าง  คิดบทบาทขึ้นแสดงเองตามความพอใจบ้าง   แต่ต้องตรงกับเนื้อเรื่องที่กำหนดให้
การสอนโดยอาศัยการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหา
             การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งในการจัดทำคู่มือจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานครั้งนี้ ขอนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้ การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนบูรณาการ 
             จากแนวทางการจัดการศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น  จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมากขึ้น  เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติและสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้  การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสนองตอบให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะดังกล่าวมีมากมายหลายกระบวนการ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นวิธีการหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นการเรียนรู้ที่อาศัยความเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ เพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ทั้งในด้านความรู้  ทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ และคุณธรรม  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา
การบูรณาการเป็นการผสมผสานประสบการณ์การเรียนรู้และอาจจะเป็นการผสมผสานเนื้อหาวิชา  วิชาต่างๆในหมวดวิชาเดียวกันหรือต่างหมวดวิชาให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตลอดจนสามารถนำประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงมีรายละเอียดโดยสังเขป   ดังนี้
              ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน Cognitive ที่ใช้  Constructivism Approach  หลักสำคัญของ  Constructivism คือ  ผู้เรียนต้องสร้างความรู้เองโดยครูเป็นผู้ช่วย โดยจัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้เรียนหรือให้โอกาสผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง  และเป็นผู้ลงมือกระทำและปฏิบัติการเรียนด้วยตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Ausubel  เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจ  และมีความหมาย   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมอง
               การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of Learning ) การถ่ายโยงการเรียนรู้ หมายถึง การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาประการหนึ่งก็คือ การเตรียมผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งในด้านการประกอบอาชีพ  และการแก้ปัญหารูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวัน   จะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ กับชีวิตจริงมากขึ้นตลอดจนมองเห็นประโยชน์ในสิ่งที่เรียนว่าสามารถนำไปใช้ได้
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
               แบบรวมหัวกันคิด 
               เมื่อครูต้องการสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องที่ครูสอนไปแล้ว ตามวิะีการแบบดั้งเดิมครูจะใช้วิธีการเรียกชื่อนักเรียนตอบคำถามทีละคน หือนักเรียนยกมือเพื่อตอบคำถาม จุดอ่อนของวิธีดังกล่าวคือ จะมีนักเรียนเพียงไม่กี่คนในห้องที่จะได้ตอบคำถาม นักเรียนส่นใหญ่ที่ไม่มีโอกาสตอบจะเกิดความรู้สึกผิดหว้ง ไม่มีส่วนร่วมเป็นสาเหตุ
               แบบร่วมมือกัน
               1.การอภิปรายทั้งชั้นเรียนดดยให้นักเรียนเป็นศูุนย์กลาง
               2.การคัดเลือกกลุ่มนักเรียน
               3.การสร้างทีมพัฒนาทักษะ           
               4.การคัดเลือกหัวเรื่อง
               5.การคัดเือกหัวข้อย่อย
               6.การเตรียมกัวข้อย่อย
               7.การนำเสนอหัวข้อย่อย
               8.การเตรียมนำเสนอผลงานของทีม
               9.การนำเสนอผลงานของทีม
               10.การประเมินผล
               แบบประสานความรู้
               1.ครุแจ้งเรื่องที่จะเรียน จะเรียนอย่างไรหรือจะขยายความรู้อย่างไร ติดภาพไว้ให้เด็กได้ดูกิจกรรมที่จะจัด
               2.จัดกลุ่ม/ทีม ถ้ากลุ่มเดิมยังไม่หมดอายุก็ให้ใช้ก่อน หากหมดก็จัดกลุ่มใหม่
               3.แบ่งงานศึกษาเรื่องที่กำหนด
               4.ศึกษากับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
               5.รายงานผลหรือให้ความรู้กับผู้ร่วมทีม
               6.ทดสอบ คำนวณคะแนน และประเมินผล
               7.การยอมรับของกลุ่ม/ทีม และให้การชมเชย
               แบบประชุมโต๊ะกลม
               1.การเสนอปัญหา โดยครูจะถามคำถามซึ่งมีคำตอบหลายคำตอบ
               2.คำตอบของนักเรียน ให้นักเรียนเขียนคำตอบของตนลงในกระดาษแผ่นเดียวกันเวียนทางเดียวกันจนครบทุกคน
การสอนด้วยวิธีหมวก 6 ใบ
               Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ โบโน" จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ
White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด

สรุป
             สภาวะการการเรียนการสอนพื้นฐานการเรียนการสอนปกติจะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกประเภทประกอบด้วยบทนำการนำเสนอการทดสอบตามเกณฑ์การปฏิบัติในถ้ำกลางระหว่างภาคเรียนและการแนะนำการนำให้ข้อมูลป้อนกลับ
 ความต้องการทิดสะดีการเรียนการสอนทฤษฎีการเรียนการสอนเป็นประโยชน์กับการผลิตครูในการที่จะให้คำตอบกูจะสอนอะไรและผู้เรียนเรียนอะไรได้อย่างไรครูจะต้องรู้ว่าจะจัดการต่อพฤติกรรมของตนเองที่มีผลต่อการเรียนของนักเรียนอย่างไรธรรมชาติของคดีการเรียนการสอนวิธีการเรียนรู้และคดีพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับสัสดีการเรียนการสอนทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ
             การชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งถูกฝังลมเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ชี้เฉพาะพิธีการจัดสร้างองค์ความรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่สุดในการตักตวงความรู้ชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษในขบวนการของการเรียนรู้และการสอน
             สถิติการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มีอยู่มากเช่นชุดสกีการของกาเย่และบริกส เมอร์ริสไรเกรุทของเคสและลันดา ในการเรียนการสอนต้องพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียนใช้การสอนสไลด์การเรียนรู้แบบจำลองการสอนทักษะการสอนสมรรถภาพโดยทั่วไปการจัดการเรียนรู้การสอนและการนำเสนอการเรียนการสอนหลักการเรียนรู้ในบทนี้เป็นขบวนการนำเสนอสารสนเทศข้อความจริงมโนทัศน์และหลักการของกูเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ประกอบด้วยการแนะนำบทเรียนการนำเสนอเนื้อหาใหม่และบาร์และการฝึกปฏิบัติ
              การวิจัยการเรียนรู้เป็นการวิจัยที่ตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วยการสำรวจการศึกษาพฤติกรรมและการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการทดลอง
 ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้การเรียนรู้มีขอบเขต 4 ด้านด้านพุทธิพิสัยด้านจิตพิสัยด้านทักษะพิสัยและด้านสังคมพิสัยองค์ประกอบของการเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 5 อย่างคือตัวผู้เรียนบทเรียนวิธีการเรียน การถ่ายโอนการเรียนรู้และองค์ประกอบจากสิ่งแวดล้อมต่างๆองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์มี 2 ด้านคือ ด้านสติปัญญาและด้านที่ไม่ใช้สติปัญญา
              การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการเรียนการสอนที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงการเรียนรู้อย่างมีความสุขได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรอบด้านมีความสมดุลมีทักษะการแสดงแสวงหาความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงเช่นการเรียนรู้สถานการณ์จริงนักการศึกษาที่เป็นผู้คิดค้นและใช้คำว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นคนแรกคือ คาร์ลอาร์โรเจอร์
              รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์การเช่นการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนการเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการเรียนรู้แบบโครงสร้างการเรียนรู้กระบวนการทางสติปัญญาการเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การขบวนการทำวิจัยการเรียนรู้แบบค้นคว้าเป็นกลุ่มการเรียนรู้แบบความคิดรวบยอดการเรียนรู้โดยค้นพบการเรียนรู้แบบเป็นศูนย์การเรียนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
             วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเช่นการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาสถานการณ์จำลองกรณีตัวอย่างบทบาทสมมุติการแก้ปัญหาโปรแกรมสำเร็จรูป ศูนย์การเรียนชุดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโครงงานการทดสอบ การถามและตอบ การอภิปรายกลุ่มย่อยการแก้ปัญหาสมการการสืบสวนสอบสวนกลุ่มสืบค้นความรู้กลุ่มสัมพันธ์ความคิดรวบยอดการแก้ปัญหาตามอริยสัจ 4

อ้างอิง

        หนังสือวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
       https://th.wikipedia.org/wiki/กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้
       https://www.goethe.de/ins/th/th/spr/mag/20997418.html

สัปดาห์ที่ 12 บทที่ 6

บทที่ 6  การเลือกและการพัฒนาสื่อการสอน ความหมายของสื่อการเรียนการสอน               สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญใน...